เกี่ยวกับร้าน Farmer Shop

1 ร้าน Farmer Shop คืออะไร
Farmer Shop เป็นรูปแบบของร้านค้าปลีกที่มุ่งสร้างระบบธุรกิจภายใต้แนวคิด "ร้านค้าปลีกที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคเป็นเจ้าของร่วมกัน" ดำเนินการตั้งแต่สร้างเครือข่ายผู้ผลิตและเครือข่ายผู้บริโภค การคัดสรรสินค้ามาพัฒนามาตรฐานและบรรจุภัณฑ์ และการบริหารจัดการร้าน Farmer Shop อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้สินค้ามาจําหน่ายแก่ผู้บริโภคในราคาเป็นธรรมตามสโลแกน

"ไม่ได้หวังที่กำไร แค่อยากให้เป็นลูกค้าประจำ"

ร้าน Farmer Shop จะเป็นผู้เชื่อมเครือข่ายผู้ผลิตกับเครือข่ายผู้บริโภคเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างสรรค์ระบบธุรกิจร้านค้าปลีกทางเลือก มุ่งสู่ระบบการค้าที่เป็นธรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านสินค้าการเกษตรแปรรูป 3 หมวดคือ อาหาร สินค้าอุปโภค และของใช้-ของที่ระลึก

 

2 ทำไมจึงเกิดร้าน Farmer Shop
จุดเริ่มต้นความคิดการจัดตั้งร้าน Farmer Shop มาจากปัญหาใน 2 ภาคส่วน คือ ภาคการผลิต และภาคการบริโภคปัญหาในภาคการผลิตอาจะกล่าวได้ว่า สินค้าเกษตรแปรรูปจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชุมชน หรือ สินค้าโอทอป มักประสบปัญหาต่างๆ ทั้งปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูง ปัญหาสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ปัญหาการหาช่องทางจำหน่ายสินค้าหรือการเข้าถึงตลาด หรือปัญหาการแข่งขันกับสินค้าจากผู้ผลิตเอกชนหรือประเทศเพื่อนบ้าน
สำหรับปัญหาในภาคบริโภคเกิดจากการที่ผู้บริโภคต้องประสบกับสินค้าที่มีราคาแพงและไม่เป็นธรรมซึ่งเป็น
ผลจากค่าการตลาดที่ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการบวกเพิ่มเข้าไปในสินค้าของตน เพื่อให้ขายได้กำไร
สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์จึงออกแบบตัวแบบธุรกิจดังกล่าวขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้ผลิตและผู้บริโภคที่
ค่านิยมร่วม "การร่วมมือกันสู่การค้าที่เป็นธรรม"

3 ร้าน Farmer Shop ดีอย่างไร
ภายใต้การดำเนินงานร้าน"Farmer Shop" จะมีผลลัพธ์ในของตัวแบบธุรกิจร้านค้าปลีกทางเลือก ที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายใต้โซ่อุปทานได้ตระหนักในระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม จนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนหรือพันธมิตรธุรกิจร่วมกัน สร้างระบบธุรกิจในทิศทางของการจัดการโซ่อุปทานอย่างบูรณาการในกลุ่มสินค้าเกษตรแปรรูป เพื่อการรักษาส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าในสภาวะที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับคู่แข่งทางการค้าจากต่าง
ประเทศในยุคเปิดเสรีอาเซียน อาจแบ่งประโยชน์ของร้าน Farmer Shop ได้ 3 ประการ

ผู้ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูปจะได้เชื่อมสัมพันธ์กันจนก่อเป็นเครือข่ายพันธมิตร มีโอกาสพัฒนามาตรฐานของสินค้าตนในแนวทางที่ยั่งยืน ทั้งสามารถเข้าถึงตลาดที่มีเครือข่ายผู้บริโภคได้
ผู้บริโภคมีโอกาสได้เข้าถึงสินค้าคุณภาพมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับในสังคมในราคาที่เป็นธรรม ก่อความสัมพันธ์อันดีกับผู้ผลิต และได้สนับสนุนแนวทางการผลิตที่ยั่งยืน เช่น การเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น
ชุมชนที่ร้าน Farmer Shop ตั้งอยู่จะมีตลาดทางเลือกซึ่งอาจถือเป็นจุดนัดพบระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคผ่านผู้ประกอบการที่คุณภาพ
และประสิทธิภาพ และให้ความสำคัญกับระบบเครือข่ายคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรมตามแนววิถีทางของสหกรณ์