กระบวนการดำเนินงานร้าน Farmer Shop

กระบวนการดำเนินงานร้าน Farmer Shop ได้รับการออกแบบด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ที่เน้นให้ผู้ส่วนเกี่ยวข้องทุก ๆ ฝ่ายได้ร่วมกันระดมสมอง ผ่านการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ในทีนี้ จะได้แบ่งกระบวนการออกเป็น 2 ประเด็น คือ ขอบเขตการดำเนินการ และ ระบบธุรกิจร้าน Farmer Shop
1 ขอบเขตการดำเนินการร้าน Farmer Shop
มีการแบ่งการดำเนินการโครงการร้าน Farmer Shop ออกเป็น 3 ระยะ ในช่วง 5 ปี โดยกำหนดขอบเขตการดำเนินการในแต่ละช่วง ดังนี้
ระยะที่ 1: การเตรียมการ โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สกว. สําหรับการประสานงานกับหน่วยงาน/เครือข่าย/พันธมิตรธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ในการออกแบบระบบและจัดทําข้อเสนอสําหรับโครงการลงทุน โครงการทดลองตัวแบบ Farmer Shop ใช้เวลา 1 ปี
ระยะที่ 2: การดําเนินการจัดตั้งและดําเนินการโครงการทดลองตัวแบบ Farmer Shop การดําเนินการจะเป็นในรูปแบบของการทําธุรกิจร้านค้าปลีก (Retail Shops) ซึ่งจะพัฒนาเพื่อการนําไปใช้ประโยชน์ในชุมชน/สหกรณ์/ผู้ประกอบการรายย่อย โดยกําหนดสถานที่ ณ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใช้เวลา 2 ปี
ระยะที่ 3: การขยายผลไปสู่การใช้ประโยชน์ในชุมชน สหกรณ์สถาบันเกษตรกรและผู้ประกอบการรายย่อย จะประกอบไปด้วยการจัดตั้งและดําเนินงานสถาบันเรียนรู้ Farmer Shop ซึ่งให้การเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสินค้าคุณภาพ การบริหารจัดการธุรกิจ Farmer Shop (การจัดหา- การจัดชั้นวางสินค้า-การกําหนดราคาสินค้า-การบริหารต้นทุนต่อหน่วย-การจัดทํางบการเงิน-การจัดการคลังสินค้า-การบริหารความเสี่ยงในธุรกิจ ฯลฯ) การพัฒนาระบบการรับรองคุณภาพสินค้า การพัฒนาระบบธุรกิจในแนวทางของระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรมภายใต้แบรนด์ Farmer Shop ใช้เวลา 2 ปี
อาจอธิบายได้ด้วยภาพ ดังนี้



2 ระบบธุรกิจร้าน Farmer Shop
ร้าน Farmer Shop ดำเนินการภายใต้แนวคิดการจัดการโซ่อุปทานอย่างบูรณาการกับแนวคิดของเครือข่ายคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม โดยได้ออกแบบมาเป็นระบบธุรกิจเป็นการเฉพาะ ดังนี้




1. การสร้างเครือข่ายอุปทานสําหรับสินค้าเกษตรแปรรูป 3 หมวด ได้แก่ ประเภทอาหาร ประเภทสินค้าอุปโภค และประเภทของใช้-ของที่ระลึก โดยผ่านกิจกรรมการจัดเวทีสร้างความเข้าใจเพื่อค้นหาผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ผลิตที่เห็นในแนวทางระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม ตลอดจนการเชื่อมโยงเขาเหล่านั้นเป็นเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ และเวทีการการคัดสรรสินค้า
2. การพัฒนาสินค้าให้ได้คุณภาพมาตรฐาน และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ภายใต้กลไกการจัดเวทีให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน
3. การบริหารจัดการโซ่อุปทาน ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ผ่านกลไกศูนย์เรียนรู้ Farmer Shop เพื่อวางระบบการสั่งซื้อ การจัดส่งสินค้า การวางบิล และการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าให้ได้ตามเงื่อนไขที่กําหนด
4. จำหน่ายสินค้าแก่ผู้บริโภค การบริหารจัดการร้านค้าปลีก ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ การวางแผน การดําเนินงาน และการประเมินผล ประกอบไปด้วยกิจกรรมที่สําคัญ ได้แก่
4.1. การวางกรอบทิศทางการดําเนินงาน Farmer Shop
4.2. การกําหนดสถานที่ตั้ง และการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมเพื่อกําหนดแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภค
4.3. การตกแต่งร้านและการจัดวางสินค้า
4.4. การาจัดหมวดหมู่(ประเภท) และรายการสินค้าเพื่อจําหน่าย
4.5. การจัดซื้อ
4.6. การกําหนดราคา
4.7. การจัดจําหน่ายผ่านช่องทางการตลาดต่าง ๆ เช่น การจําหน่ายหน้าร้าน การจําหน่ายผ่านแคตตาล็อก การขายตรง (Direct Marketing)
4.8. การจัดการสินค้าคงคลัง
4.9. การบัญชีและการควบคุม
4.10. การรายงานผลการดําเนินงาน
5. การสร้างแบรนด์ Farmer Shop การจัดตั้งและดําเนินโครงการตัวแบบ Farmer Shop เป็นเรื่องของการสร้างสรรค์ระบบธุรกิจเชิงคุณค่า โดยเน้นให้ผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจดจําแบรนด์ รู้สึกผูกพันเห็นคุณค่า และอุดหนุนสินค้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการจัดบู๊ทการส่งเสริมการขาย การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ โดยมุ่งให้คนในสังคมตระหนักในคุณค่า "สินค้ามีคุณภาพ ราคาเป็นธรรม"