คุณค่าของตัวแบบธุรกิจร้าน Farmer Shop

ภายใต้วิสัยทัศน์ "ร้านค้าที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคเป็นเจ้าของร่วมกัน" โครงการร้าน Farmer Shop ที่ได้รับการออกแบบให้เป็นธุรกิจทางเลือกของชุมชนเชิงสร้างสรรค์ก่อให้เกิดก่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงคุณค่า
เมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการฯ ระยะที่ 2 ร้าน Farmer Shop จึงกลายเป็นตัวแบบร้านค้าทางเลือกของชุมชนที่ชักนำให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบการมาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและปลูกฝังให้ร่วมกันส่งเสริมแนวทางของ "การบริโภคอาหารปลอดภัย" "การพึ่งพาและร่วมมือกัน" "และ "การค้าที่เป็นธรรม" ภายในชุมชนต่างๆ จนสามารถอธิบายด้วยรูปภาพข้างล่าง เพื่อการขยายผลสู่ชุมชน



อาจอธิบายลงไปในรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้
1 ตลาดทางเลือก
ร้าน Farmer Shop กลายเป็นตลาดทางเลือกของเครือข่ายผู้ประกอบการรายย่อยและผู้บริโภคที่ต้องการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจบนวิถีความสัมพันธ์ระหว่างกันอันมีคุณค่า เพราะได้ช่วยเหลือและพึ่งพากัน ทั้งต้องการเข้าสู่ระบบการค้าที่เป็นธรรม

2 จุดเชื่อมโยงเครือข่ายคุณค่า
ภายใต้ระบบธุรกิจนี้ ร้าน Farmer Shop จะทำหน้าที่เชื่อมโยงใน 2 ระดับ โดย ระดับแรก เป็นการเชื่อมโยงผู้ผลิตและผู้ประกอบการรายย่อยเข้าเป็นเครือข่ายด้านอุปทาน และเชื่อมผู้บริโภคเข้าเป็นเครือข่ายด้านอุปสงค์ จากนั้น ใน ระดับที่ 2 จะได้เชื่อมโยงทั้ง 2 เครือข่ายเข้าหากันผ่านกาค้าสินค้าอุปโภค-บริโภค-ของที่ระลึก ที่ได้คุณภาพมาตรฐานและมีราคาเป็นธรรม ในรูปแบบการเป็นสมาชิกของร้าน Farmer Shop

3 การพัฒนาคุณภาพชีวิต
ร้าน Farmer Shop จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกในร้าน โดยผ่านกระบวนการต่างๆ อาจสรุปได้ดังนี้
• เวทีเรียนรู้และกิจกรรม ภายใต้การดำเนินธุรกิจของร้าน Farmer Shop จะมีการจัดเวทีเรียนรู้และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเพิ่มระดับความรู้ให้แก่สมาชิก ทั้งเพิ่มระดับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกับร้าน และระหว่างสมาชิกด้วยกัน
• การประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ Farmer Shop เพื่อพัฒนาจิตสำนึกของผู้ผลิตและผู้ประกอบการรายย่อยให้เกิดการดำเนินธุรกิจที่เป็นธรรมและมีความยั่งยืน ร้าน Farmer Shop จึงมีกลไกการตรวจประเมินผลิตภัณฑ์



4 ร้าน Farmer Shop กับแนวคิด New Growth Model
แนวทางการพัฒนาประเทศจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง จนก้าวสู่ประชาคมอาเซียนตามวิสัยทัศน์ "ประเทศมีขีดความสามารถการแข่งขัน คนไทยกินดีอยู่ดี มีความเสมอภาคและเป็นธรรม" ด้วยยุทธศาสตร์ 3 ประการ ดังภาพ



เมื่อพิจารณาระบบธุรกิจของร้าน Farmer Shop จะเห็นได้ว่า ระบบดังกล่าวเป็นระบบที่สนันสนุนรูปแบบธุรกิจฐานสังคมซึ่งมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ระบบธุรกิจเช่นนี้ก่อผลให้ให้ชุมชนที่ธุรกิจตั้งอยู่สามารถพัฒนาทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคมต่อไปได้อย่างยั่งยืน ด้วยระบบการค้าที่เป็นธรรมจะก่อให้เกิดความเท่าเทียมของคนในชุมชน ด้วยระบบการพัฒนาผู้ผลิตและผู้ประกอบการรายย่อย ทำให้เพิ่มความสามารถในการแข่งและผลิตสินค้าที่มีคุณค่าจนสามารถนำเข้าร้าน Farmer Shop ในฐานะตลาดได้

จากที่กล่าวมา อาจสรุปได้ว่าระบบธุรกิจร้าน Farmer Shop คือรูปแบบหนึ่งของการนำหลักการสหกรณ์ทั้ง 7 ประการมาใช้ให้เป็นรูปธรรม และเมื่อรูปแบบนี้สามารถทำให้ระบบเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมเกิดความยั่งยืนได้แล้ว ก็กล่าวได้ว่า สหกรณ์ คือ คำตอบในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนนั่นเอง