รางวัลผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2558
    26 กุมภาพันธ์ 2559
     

    การวิจัยได้แนวทางการยกระดับคุณค่า "สหกรณ์" โดยใช้การพัฒนาระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรมและสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 3 ประการ คือ การยกระดับสมรรถนะคน องค์กร และเครือข่าย ซึ่งสอดคล้องกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศที่มุ่งเน้น "ประชาชนเป็นศูนย์กลาง" อ่านต่อ











    รางวัลผลงานวิจัยเด่น สกว. ประจำปี 2557
    21 พฤษภาคม 2558

    เครือข่ายคุณค่าผลไ้ม้คุณภาพ เป็นงานสร้างสรรค์ที่แสดงให้เห็นตัวแบบของระบบธุรกิจสหกรณ์ที่ได้นำเอาการจัดการโซ่อุปทานมาใช้ในธุรกิจและนำไปสู่การเชื่อโยงธุรกิจระหว่างกลุ่มชาวสวนผลไม้คุณภาพ สหกรณ์การเกษตรผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยมีเป้าหมายร่วมกันในการยกระัดับคุณภาพผลผลิตตั้งแต่ระดับการผลิตจนถึงผู้บริโภค และได้สร้างตำนาน "คิชฌกูฏโมเดล" ที่ได้ขยายผลนำไปใช้ประโยชน์ในการยกระดับการดำเนินธุรกิจของสถาบันเกษตรกรในหลายพื้นที่ ปัจจุบันได้จัดตั้งและดำเนินการศูนย์เรียนรู้มีชีวิตเพื่อการถ่ายโอนความรู้สู่สังคม อ่านต่อ

    สาระสำคัญเพิ่มเติม

    ข่าว บทความ รายงานวิจัย


    รางวัลโครงการวิจัยเด่น ประจำปี 2556
    29 สิงหาคม พ.ศ.2557

    โครงการกลุ่มธุรกิจเชิงคุณค่าสามพรานเป็นการทดลองนำภาคธุรกิจคือ โรงแรมสามพรานริเวอร์ไซด์ เข้าร่วมงานกับชุมชนคือเครือข่ายเกษตรกรในจังหวัดนครปฐม เพื่อหาแนวทางในการยกระดับคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตรสู่สินค้าปลอดภัยและสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างการผลิตและการตลาดอย่างยั่งยืน ทำให้เกิดภาคีพันธมิตรเข้ามามีส่วนร่วมกับกลุ่มธุรกิจในรูปกลุ่มธุรกิจสหกรณ์เชิงคุณค่าสามพรานที่มีปณิธานเดียวกัน โดยกลุ่มได้พัฒนาตัวแบบการดำเนินงานในรูปแบบของตลาดชุมชนที่ชื่อว่า "ตลาดสุขใจ" เพื่อใช้เป็นกลไกเรียนรุ้ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคเกี่ยวกับ "สินค้าเกษตรอินทรีย์" พร้อมทั้งจัดทำโครงการนำร่องในแปลงทดลองเกษตรอินทรีย์ ภายใต้ทีมพี่เลี้ยงและผู้เชี่ยวชาญเพื่อขยายผลความร่วมมือระหว่างชุมชนกับภาคธุรกิจเอกชน ที่นำสู่การพัฒนาที่เ้น้นการผลิตเพื่อความยั่งยืนและการค้าที่เป็นธรรม อ่านต่อ

      

    สาระสำคัญเพิ่มเติม

    ข่าวบทความรายงานวิจัย



    หลักสูตรชาวนามืออาชีพได้รับมอบรางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบ
    ระดับสูง รางวัลระดับ SILVER
    ประเภท รางวัลแนวปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรมด้านต่างๆ
    17 มิถุนายน 2557

    หลักสูตรชาวนามืออาชีพ เป็นผลงานวิจัยภายใต้ชุดโครงการวิจัย “โรงเรียนลูกชาวนาเพื่อเพิ่มสมรรถนะการทำการเกษตรเชิงธุรกิจ: มิติใหม่แห่งการเรียนรู้จากแปลงนาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ที่มีสาระการเรียนรู้และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ส่งเสริมให้ชาวนามีสมรรถนะเป็นมืออาชีพตามคุณลักษณะ “คิดเก่ง ทำเป็น เห็นอนาคต” สามารถยืนหยัดในการประกอบอาชีพและสร้างสมดุลในการดำเนินชีวิต ท่ามกลางปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงการพัฒนาหลักสูตรด้วยรูปแบบของการมีส่วนร่วมระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นการสร้างสมรรถนะให้ผู้เรียนใน 3 มิติ ได้แก่ การปรับทัศนคติ วิธีคิด การเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่จำเป็นในแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

    การประเมินผลการทดลองใช้หลักสูตรภายใต้การดำเนินการของครูพื้นที่กับกลุ่มเป้าหมายชาวนาใน 5 พื้นที่ ชี้ให้เห็นว่าหลักสูตรดังกล่าวสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนทั้งด้านทัศนคติ วิธีคิด ความรู้ และทักษะ นอกจากนั้นยังพบว่า จากการนำความรู้ไปปฏิบัติจริงในโครงการทดลอง สามารถลดต้นทุนการผลิตและสร้างทางเลือกในการจำหน่ายผลผลิต ตลอดจนการรวมกลุ่มสร้างอำนาจการต่อรองของชาวนาได้

    ปัจจุบัน ได้ขยายผลนำหลักสูตรชาวนามืออาชีพไปใช้ประโยชน์ภายใต้โครงการพัฒนาเกษตรกร (Smart Farmers) โครงการพัฒนาเจ้าหน้าที่รัฐ (Smart Officers) โครงการพัฒนาครูผู้สอน (Smart Teachers) ผลการดำเนินการภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาควิชาการ และขบวนการสหกรณ์ ได้ก่อเกิดเป็นชุมชนเรียนรู้ที่ใช้หลักสูตรชาวนามืออาชีพเป็น “กลยุทธ์” ในการปรับเปลี่ยนทัศนคติวิธีคิด วิธีการทำงานส่งเสริมเกษตรกรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมภาคการเกษตร โดยมีเป้าหมายในการยกระดับสมรรถนะของทรัพยากรบุคคล ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป

    ผลงานวิจัยหลักสูตรชาวนามืออาชีพได้รับ รางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2556 ระดับ Silverเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2557 ณ ห้องประชุมรวงข้าว คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    สาระสำคัญเพิ่มเติม

    ข่าว
    บทความ
    รายงานวิจัย


    สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลดีเยี่ยม
    ประเภท รางวัลแนวปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรมด้านต่างๆ
    26 พฤศจิกายน 2553

    โครงการรางวัลคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 4 จัดขึ้นโดยสํานักประกันคุณภาพมีจุดมุ่งหมายเป็นกลไกสําคัญในการผลักดันระบบคุณภาพทางการศึกษาให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทั้งนี้แบ่งการประกวดออกเป็น 2 ประเภท คือ รางวัลภาพรวมองค์ประกอบคุณภาพ (หน่วยงานคุณภาพ) และรางวัลพัฒนาปรับปรุงกระบวนงาน/แนวปฏิบัติที่ดี นวัตกรรมต่าง

    เอกสารประกอบการบรรยาย


    โครงการวิจัย ข้าวคุณธรรม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ สาขาบริการธุรกิจ

    การจัดการ การท่องเที่ยว และเศรษฐศาสตร์ในปี 2550

    30 เมษายน 2551

    ข้าวคุณธรรมเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากชุดโครงการวิจัย “การพัฒนาขบวนการสหกรณ์ในพื้นที่ 36 จังหวัด” ที่สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการร่วมกับกลุ่มชาวนา ภายใต้เครือข่ายของมูลนิธิธรรมร่วมใจ วัดป่าสวนธรรม อำเภอนาโส่ จังหวัดยโสธร จำนวน 108 คน ช่วงฤดูกาลเพาะปลูกปี 2549/2550 ในพื้นที่ปลูกข้าว 1,130 ไร่ มีผลผลิตข้าวเปลือกออก จำหน่ายทั้งสิ้น 163 ตัน

    การดำเนินการโครงการวิจัยเป็นไปในลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วน ร่วมโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะใช้ชุดความรู้ “การเชื่อมโยงเครือข่ายคุณค่า” ต่อยอดในการ แก้ปัญหาการขายข้าวของชาวนากลุ่มดังกล่าว โดยมุ่งไปที่การเชื่อมโยงภาคี/พันธมิตรภายใต้ห่วงโซ่อุปทานอย่างเป็นกระบวนการ โดยใช้เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัยและกลุ่มชาวนา ที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แกนนำของพ่อวิจิตร บุญสูง และนายนิคม เพชรผา

    การขับเคลื่อนการวิจัยภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชาวนา ในเวลา 1 ปี สามารถสร้างระบบการผลิตและ การค้าที่สามารถแก้ไขปัญหาการจำหน่ายข้าวราคาตกต่ำได้ โดยใช้ “ตราสินค้าข้าวคุณธรรม” ซึ่งชาวนาผู้ปลูกข้าวทุกคนกำหนดเงื่อนไขที่จะถือศีลและลดอบายมุข 3 ประการ คือไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่และไม่เล่นการพนัน เป็นกลไกในการสร้างความแตกต่างในตัวสินค้า และสร้างแรงจูงใจแก่ภาคีพันธมิตร ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในระบบ การผลิตและการจำหน่ายข้าวคุณธรรม ในเวลาต่อมา มูลนิธิธรรมร่วมใจได้ดำเนินการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าข้าวคุณธรรมที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดยโสธร

    ผลงานวิจัย“ข้าวคุณธรรม” เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับ การแก้ไขปัญหาราคาสินค้าตกต่ำโดยไม่ต้องให้รัฐเข้าไปแทรกแซง นอกจากนั้นยังก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในหมู่ชาวนา ที่เข้าร่วมโครงการให้มี ความรู้เท่าทันและร่วมกันสร้างระบบการผลิตและการค้าข้าวที่จะนำไปสู่ระบบการ ค้าที่เป็นธรรม (fairtrade) ในอนาคต นอกจากนั้นยังเป็นการนำเอาแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้ามาปฏิบัติ อย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย

    สาระสำคัญเพิ่มเติม

    บทความรายงานวิจัย


    View:3789