เกี่ยวกับโครงการการนำร่องการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการตลาดข้าวหอมมะลิ

Post Pic

ความเป็นมาโครงการ

การดำเนินนโยบายการค้าเสรีในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคเศรษฐกิจใหม่ (New economy)ก่อให้เกิดการแข่งขันอย่างรุนแรง ในทุกภาคเศรษฐกิจ เนื่องมาจากอิทธิพลของความสามารถเข้าถึงนวัตกรรมเทคโนโลยี และข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นปัจจัย ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ และอำนาจการต่อรองในเชิงธุรกิจอย่างสำคัญ ในส่วนของศูนย์ความเป็นเลิศแห่งนวัตกรรมข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญในการต่อนโยบาย ของมหาวิทยาลัย เพื่อการสร้างองค์ความรู้ ตลอดจนการให้บริการด้านวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ “ข้าว” จึงเห็นความ สำคัญของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องภายใต้โซ่อุปทานข้าว ทั้งสถาบันเกษตรกรผู้ประกอบการ เพื่อการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ “ข้าว” เพื่อสนับสนุนในการตัดสินใจสำคัญ การประกอบ อาชีพการดำเนินธุรกิจในทิศทางของการใช้ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นอันจะช่วยให้เกิดประโยชน์และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โครงการนำร่องการพัฒนาระบบสารสนเทศการตลาดข้าวหอมมะลิ จึงได้ริเริ่มขึ้นเพื่อการสร้างกระบวนการมีส่วน ร่วมระหว่างผู้เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการความรู้ และการวางระบบเครือข่ายสารสนเทศด้านการตลาดข้าวหอมมะลิ เพื่อเป็น จุดเริ่มต้นของการพัฒนาไปสู่ระบบสารสนเทศ “ข้าว” ทั้งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ ต่อการสร้างจิตสำนึก การเรียนรู้ และใช้ประโยชน์ในเรื่องข้อมูลข่าวสาร ของเกษตรกรในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน ตลอดจนการนำไปใช้ ประโยชน์ในแวดวงนักวิชาการ และผู้สนใจต่อไป

วัตถุประสงค์

1.เพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ สำหรับการจัดเก็บฐานข้อมูลการตลาดข้าวหอมมะลิในพื้นที่นำร่องที่เป็นแหล่ง ผลิตสำคัญ
2.เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านตลาดข้าวหอมมะลิของศูนย์ความเป็นเลิศแห่งนวัตกรรมข้าว มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์
3.เพื่อศึกษากรอบแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศการตลาดข้าวหอมมะลิ เพื่อการใช้ประโยชน์

กรอบคิดแนวทางการดำเนินโครงการ

การดำเนินการโครงการนำร่อง จะเป็นการสร้าง กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างผู้เกี่ยวข้อง กับการตลาด ข้าวหอมมะลิไทย ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า ภาคีเครือข่าย สารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วย หน่วยจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ สหกรณ์การเกษตร สำนักพานิชย์จังหวัด และผู้ประกอบการ โรงสีเอกชน ซึ่งกระจายอยู่ในพื้นที่ นำร่อง 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัด ศรีสะเกษ โดยหน่วยจัดเก็บข้อมูลภายใต้ภาคีเครือข่าย จะทำหน้าที่รวบรวม และจัดส่งข้อมูลตามเครื่องมือ และ กระบวนการที่ได้เห็นชอบและเรียนรู้ร่วมกัน โดยใช้กลไก ของเวทีประชุมเชิงปฎิบัติการ ซึ่งนักวิจัยของโครงการนำ ร่องฯ จะทำหน้าที่เสมือนหน่วยรวบรวม กลั่นกรอง วิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบของฐานข้อมูล และการ นำเสนอในรูปแบบของสารสนเทศเพื่อการเผยแพร่ที่ภาคี เครือข่ายฯ และผู้สนใจจะสามารถเข้าถึงเพื่อการนำไป ใช้ประโยชน์


กรอบคิดแนวทางการดำเนินโครงการนำร่องการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการตลาดข้าวหอมมะลิ