ภารกิจการสร้างกลไกการเรียนรู้และคลังความรู้ เพื่อยกระดับการนำคุณค่าสหกรณ์สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (การบริการวิชาการ)

    วัตถุประสงค์ :

    • เพื่อให้มีการสะสมความรู้ และคลังความรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีจิตสำนึกสหกรณ์และการค้าที่เป็นธรรม
    • เพื่อให้มีกลไกการเรียนรู้ สนับสนุนการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีจิตสำนึกสหกรณ์และการค้าที่เป็นธรรม

    การดำเนินการ :

    การให้บริการวิชาการ เกิดจากการบูรณาการการทำงานของสถาบันฯ ทั้งภารกิจการวิจัย ภารกิจการให้บริการวิชาการ ภารกิจการเชื่อมโยงเครือข่าย และภารกิจการพัฒนาองค์กร เป็นไปตามแนวทางการดำเนินการด้านการให้บริการวิชาการที่ได้ออกแบบให้เห็นกระบวนการทำงาน ดังรูป

    ขั้นตอนแรก
    การนำชุดความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยมายกร่างตัวแบบหลักสูตรบริการวิชาการ และการจัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรม และการจัดทำโครงการฝึกอบรม ภายใต้เครือข่ายผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เป็นคณะทำงานพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้ได้ตัวแบบหลักสูตรฝึกอบรมที่สามารถยกระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและมีความพร้อมที่จะเข้าไปขับเคลื่อนการพัฒนาสหกรณ์ ในทิศทางของการนำคุณค่า (ประโยชน์) สู่สมาชิกและชุมชน และการเป็นองค์กรพึ่งพาตนเอง (Autonomous) ซึ่งสถาบันฯจะสร้างกลไกให้เกิดเป็นเครือข่ายผู้นำการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาไปสู่สังคมฐานความรู้ในอนาคตที่จะเป็นเสาหลักทางความคิดแก่สังคมต่อไป
    ขั้นตอนที่สอง
    การดำเนินการฝึกอบรม การประเมินผลและติดตามผลผู้ผ่านการฝึกอบรม การดำเนินการฝึกอบรมจะเป็นไปภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันฯและหน่วยงานพันธมิตรทั้งภาครัฐ ภาคขบวนการสหกรณ์ และภาคเอกชน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้นำสหกรณ์ ผู้นำสถาบันเกษตรกรและผู้สนใจ และได้นำเอากระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge management) มาใช้ในการฝึกอบรม เพื่อเพิ่มพูนทักษะจากประสบการณ์ตรงของผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ โดยจัดทำเป็นคลังความรู้ในรูปของบทความ คู่มือการเรียนรู้ วารสารฅนสหกรณ์ และเว็บไซต์เพื่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในการสร้างเป็นสังคมฐานความรู้ร่วมกัน
    การประเมินผลการฝึกอบรมจะดำเนินการทุกครั้งในการฝึกอบรม เพื่อให้ได้ข้อมูลป้อนกลับมาปรับปรุงการดำเนินการ และทุกปีจะมีการติดตามผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยใช้กลไกของเวทีเสวนาวิชาการประจำปี งานคืนสู่เหย้า กลไกของสมาชิกวารสารฅนสหกรณ์  เว็บไซต์ และข้อมูลจากพื้นที่วิจัยของ สถาบันฯ
    ขั้นตอนที่สาม
    การขยายผลสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในขบวนการสหกรณ์ ตัวแบบการฝึกอบรมของสถาบันฯ มักจะได้ขยายผลในการใช้เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมในหน่วยงานและขบวนการสหกรณ์ อาทิเช่น หลักสูตรผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ออมทรัพย์อย่างชำนาญการ หลักสูตรผู้นำสหกรณ์ที่มีคุณค่า

    ตัวชี้วัด :

    จำนวนเวทีเรียนรู้ สนับสนุนการเรียนรู้ และการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปีละ 10 เวที
    จำนวนผู้สนใจเข้าร่วมในเวทีเรียนรู้ อย่างน้อย ปีละ 300 คน
    เครือข่ายทรัพยากรมนุษย์ ที่เข้าร่วมเวทีเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และพัฒนาไปเป็นเครือข่ายฯ ของสถาบันและสังคมฐานความรู้ที่เห็นความสำคัญในประเด็นระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม เพิ่มขึ้นปีละ 30 คน
    มีคลังข้อมูลที่สะสมองค์ความรู้ในประเด็นระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม เพื่อการเผยแพร่เพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 10 รายการ
    มีผู้สนใจเข้าสืบค้นข้อมูล ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 300 ราย
    มีสื่อ-สิ่งพิมพ์เกี่ยวกับระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรมเผยแพร่ในนาม สว.สก. อย่างน้อยปีละ 3 เรื่อง

    กระบวนการด้านการให้บริการวิชาการ


    View:5061