1
    ชื่อโครงการวิจัย : ชุดโครงการ “การขับเคลื่อนการพัฒนาการสหกรณ์และการค้าที่เป็นธรรม ระยะที่ 4”
    หัวหน้าโครงการวิจัย : รศ.จุฑาทิพย์  ภัทราวาท
    เริ่มเมื่อ : 1 กรกฎาคม 2553 – 30 มิถุนายน 2554 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
    สถานะของโครงการ : เสร็จสมบูรณ์ Download รายงานฉบับสมบูรณ์

    วัตถุประสงค์ : 
    1. เป็นแกนนําในการคิดค้นนวัตกรรมสนับสนุนการพัฒนาในทิศทางเชิงคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม
    2. ประสานงานและสนับสนุนการขับเคลื่อนการดําเนินงานของชุดโครงการวิจัยในการพัฒนาระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรมในกลุ่มภาคีที่สนใจ เพื่อการแก้ไขความยากจน การตั้งรับนโยบายการเปิดเสรีอาเซียน และการพัฒนาที่ยั่งยืน
    3. เป็นแกนนําในการขับเคลื่อน VN & F Platform เพื่อพัฒนาระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง
    4. เป็นแกนนําในการพัฒนาหลักสูตรเรียนรู้แก่ผู้นำและผู้สนใจภายใต้ VN & F Platform และการสานสัมพันธ์เครือข่ายผู้นำที่พัฒนาหลักสูตรเรียนรู้
    5. การพัฒนาเครื่องมือระบบสนับสนุนและโครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็นในการขับเคลื่อน การพัฒนาระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม
    6. การติดตามหนุนเสริมเครือข่ายที่เป็นผลผลิตของชุดโครงการ ให้มีบทบาทในฐานะภาคีการขับเคลื่อนระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม

    2
    ชื่อโครงการวิจัย : โครงการวิจัย “แนวทางการพัฒนาระบบการเงินที่เกื้อหนุนการพึ่งพาตนเองและร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์”
    หัวหน้าโครงการวิจัย : รศ.จุฑาทิพย์  ภัทราวาท
    เริ่มเมื่อ : 15 ตุลาคม 2553 – 14 กรกฎาคม 2554 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 9 เดือน
    สถานะของโครงการ : เสร็จสมบูรณ์ Download รายงานฉบับสมบูรณ์

    วัตถุประสงค์ : 
    1. เพื่อประเมินสถานการณ์ระบบที่เกี่ยวข้องที่ชี้ให้เห็นโอกาส  อุปสรรค จุดแข็ง และจุดอ่อน ของขบวนการสหกรณ์ออมทรัพย์
    2. เพื่อจัดเวทีตกผลึกความคิดระหว่างผู้นำขบวนการสหกรณ์ออมทรัพย์ นักวิชาการและฝ่ายกําหนดนโยบายสถาบันการเงิน
    3. เพื่อเสนอแนะรูปแบบและแนวทางพัฒนาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบการเงินที่เกื้อหนุนการพึ่งพาและร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์
    4. เพื่อวางกรอบทิศทางการดําเนินงานของ ชสอ. ในฐานะองค์กรกลางของขบวนการสหกรณ์ออมทรัพย์ไทยคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม

    3
    ชื่อโครงการวิจัย : โครงการวิจัย “การพัฒนาและดำเนินการตัวแบบร้าน Farmer Shop”
    หัวหน้าโครงการวิจัย : รศ.จุฑาทิพย์  ภัทราวาท และ ดร.อภิรดี  อุทัยรัตนกิจ
    เริ่มเมื่อ : 15 สิงหาคม 2553 – 14 สิงหาคม 2554 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
    สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์ Download รายงานฉบับสมบูรณ์

    วัตถุประสงค์ :
    1. การออกแบบระบบการดําเนินงานของร้านค้าปลีกสินค้าเกษตรแปรรูปผ่านกลไกของการบริหารจัดการโซ่อุปทานอย่างบูรณาการ ภายใต้แบรนด์ Farmer Shop ที่ครอบคลุมระบบจัดหา การกําหนดราคา สต็อกสินค้า การจัดชั้นวางจําหน่าย การจัดทํารายงานการเงิน ระบบบริหารจัดการ และการจัดสรรผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม
    2. การจัดตั้งและดําเนินงาน Farmer Shop ในรูปแบบโครงการนําร่อง เพื่อการทดสอบระบบและการพัฒนาไปสู่การนําไปใช้ประโยชน์ในชุมชน สหกรณ์ และผู้ประกอบการรายย่อย

    4
    ชื่อโครงการวิจัย : โครงการ “เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการพัฒนาสหกรณ์ ปีที่ 3”
    หัวหน้าโครงการวิจัย: รศ.จุฑาทิพย์  ภัทราวาท
    เริ่มเมื่อ:15 สิงหาคม 2553 - 14 กรกฎาคม 2554 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
    สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์ Download รายงานฉบับสมบูรณ์

    วัตถุประสงค์ : 
    1. เพื่อการพัฒนาระบบเครือข่ายสารสนเทศ ภายใต้กลไกวารสารฅนสหกรณ์ให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งนักกสหกรณ์ นักพัฒนา ผู้ประกอบการ ตลอดจนผู้สนใจในระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม เพื่อการนําไปใช้ประโยชน์
    2. เพื่อการพัฒนาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต www.cai.ku.ac.th ในการเผยแพร่ความรู้จากการวิจัย และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา
    3. เพื่อสร้างกลไกการเชื่อมโยงระบบข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรมเพื่อการรองรับการขับเคลื่อนการวิจัยของชุดโครงการ

    5
    ชื่อโครงการวิจัย : โครงการนำร่องการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการตลาดข้าวหอมมะลิ
    หัวหน้าโครงการวิจัย : คุณสายสุดา  ศรีอุไร และ คุณสนธยา  สีแดง
    เริ่มเมื่อ : 1 มิถุนายน 2553 – 30 พฤษภาคม 2554 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
    สถานะของโครงการ : เสร็จสมบูรณ์ Download รายงานฉบับสมบูรณ์

    วัตถุประสงค์ : 
    1. เพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือสำหรับการจัดเก็บฐานข้อมูลการตลาดข้าวหอมมะลิในพื้นที่นำร่องที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญ
    2. เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านตลาดข้าวหอมมะลิของศูนย์ความเป็นเลิศแห่งนวัตกรรมข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    3. เพื่อศึกษากรอบแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศการตลาดข้าวหอมมะลิเพื่อการใช้ประโยชน์

    6
    ชื่อโครงการวิจัย : โครงการวิจัยกลุ่มธุรกิจเชิงคุณค่าสวนสามพราน
    หัวหน้าโครงการวิจัย : คุณอรุษ นวราช
    เริ่มเมื่อ : 15 สิงหาคม 2553 - 14 สิงหาคม 2554 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
    สถานะของโครงการ : เสร็จสมบูรณ์ Download รายงานฉบับสมบูรณ์

    วัตถุประสงค์ : 
    1. เพื่อพัฒนาระบบการจัดการความรู้สู่ชุมชนของกลุ่มธุรกิจ
    2. เพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางการยกระดับคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตรสู่สินค้าเกษตรปลอดภัยและสินค้าเกษตรอินทรีย์
    3. เพื่อศึกษารูปแบบและแนวทางการจัดการโซ่อุปทานเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ ภายใต้การดำเนินงานในรูปของกลุ่มธุรกิจ

    7
    ชื่อโครงการวิจัย : โครงการวิจัยเครือข่ายคุณค่าข้าวหอมมะลิสหกรณ์ไทย ระยะที่ 2 แบรนด์ “ข้าวเกิดบุญ”
    หหัวหน้าโครงการวิจัย : คุณธนณฐ์วรรธ์  แสงหวัง และ คุณณัฐพร  ชโลธร
    เริ่มเมื่อ : 15 พฤษภาคม 2553 – 14 พฤษภาคม 2554 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
    สถานะของโครงการ : เสร็จสมบูรณ์ Download รายงานฉบับสมบูรณ์

    วัตถุประสงค์ : 
    1. เพื่อศึกษาหาแนวทางในการรักษามาตรฐานคุณภาพข้าวหอมมะลิสหกรณ์ไทย
    2. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบธุรกิจข้าวหอมมะลิของเครือข่ายฯภายใต้โซ่อุปทาน
    3. เพื่อศึกษากระบวนการสร้างแบรนด์ “ข้าวเกิดบุญ” ให้อยู่ในความนิยมของผู้บริโภค

    8
    ชื่อโครงการวิจัย: โครงการวิจัยการเชื่อมโยงโซ่อุปทาน เครือข่ายคุณค่ายางพารา ปีที่ 2
    หัวหน้าโครงการวิจัย: รศ.ศานิต เก้าเอี้ยน และ ปิติ  กันตังกุล
    เเริ่มเมื่อ : 15 กรกฎาคม 2553 - 14 กรกฎาคม 2554 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
    สถานะของโครงการ : เสร็จสมบูรณ์ Download รายงานฉบับสมบูรณ์

    วัตถุประสงค์ : 
    1. เพื่อศึกษาแนวทางการยกระดับฐานข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจสหกรณ์ให้มีความสามารถในการแข่งขัน
    2. เพื่อศึกษาแนวทางการทําธุรกิจของสหกรณ์ในทิศทางของการบริหารจัดการโซ่อุปทานอย่างบูรณาการ
    3. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การดําเนินธุรกิจของเครือข่ายตามแผนธุรกิจภายใต้ช่องทางการตลาดต่างๆ โดยคํานึงถึงความเสี่ยงทางธุรกิจ (business risk)

    9
    ชื่อโครงการวิจัย: เครือข่ายคุณค่าผลไม้ ระยะที่ 2
    หัวหน้าโครงการวิจัย: คุณศศิธร วิเศษ ตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สหกรณ์จังหวัดจันทบุรี
    เริ่มเมื่อ: 1 มีนาคม 2553 – 28 กุมภาพันธ์ 2554 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
    สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์ Download รายงานฉบับสมบูรณ์
    คำถามวิจัย: 
    1.กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรและสมาชิกสหกรณ์มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร ในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพมาตรฐาน และตรงตามความต้องการของตลาด 
    2.รูปแบบการทำสวนผลไม้คุณภาพของเกษตรกร และสมาชิกสหกรณ์ ที่จะก่อให้เกิดการสร้าง "เครือข่ายการเรียนรู้" และเป็นผลดีต่อเกษตรกรควรเป็นอย่างไร
    3.รูปแบบและกระบวนการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจรวบรวมผลไม้คุณภาพที่มีสหกรณ์การเกษตรเป็นแม่ข่าย ควรมี บทบาทอย่างไร ในการเชื่องโยง และพัฒนาเครือข่ายการผลิตผลไม้คุณภาพ 
    4.กลไกการส่งเสริมจากภาครัฐ ควรเป็นอย่างไร


    View:4509