โครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ปี 2551
 
1
ชื่อโครงการวิจัย: เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการพัฒนาสหกรณ์
หัวหน้าโครงการวิจัย: รศ.จุฑาทิพย์ ภัทราวาท ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์
เริ่มเมื่อ: 2 เมษายน 2551 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1 เพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายสารสนเทศสหกรณ์  บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ให้สามารถเข้าถึงผู้นำและฝ่ายบริหารจัดการสหกรณ์  เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในสหกรณ์ทุกระดับ
2 เพื่อพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศสหกรณ์ผ่านกลไกวารสารสหกรณ์ (co-op:magazine Thailand)  ให้สามารถเข้าถึงผู้นำและฝ่าย บริหารจัดการสหกรณ์  เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในสหกรณ์ทุกระดับ
2
ชื่อโครงการวิจัย: เครือข่ายคุณค่าจังหวัดพิษณุโลก
หัวหน้าโครงการวิจัย: นายวิรัช วาณิชธนากุล ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขา 1 (สกต.พิษณุโลก)
เริ่มเมื่อ: 2 เมษายน 2551 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1 แนวทางการขยายเครือข่ายธุรกิจที่มี สกต.เป็นแกนนำ บนหลักการของ “เครือข่ายคุณค่า” ควรเป็นอย่างไร
2 เครื่องมือสำหรับกระบวนการปลูกจิตสำนึกความร่วมมือบนหลักการสหกรณ์ แก่ผู้นำสหกรณ์ควรเป็นอย่างไร
3
ชื่อโครงการ: เครือข่ายคุณค่าจังหวัดนครศรีธรรมราช
หัวหน้าโครงการวิจัย: ผศ.ยินดี เจ้าแก้ว ตำแหน่ง อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
เริ่มเมื่อ: 2 เมษายน 2551 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1 รูปแบบ เครื่องมือ และกระบวนการปลูกจิตสำนึกความร่วมมือ แก่ผู้นำสหกรณ์ เพื่อให้มีความพร้อมในการขับเคลื่อนการพัฒนาสหกรณ์ และเครือข่ายคุณค่าควรเป็นอย่างไร
2 แนวทางสำหรับ การพัฒนาความพร้อมให้แก่ผู้นำตามข้อ 1 มีอะไรบ้าง และแต่ละแนวทางมีข้อดี ข้อด้อย อย่างไร
3 การพัฒนาผู้นำตามแนวทางต่างๆ มีผลกระทบต่อ การดำเนินงานของเครือข่ายที่เป็นอยู่อย่างไรบ้าง
4
ชื่อโครงการ: เครือข่ายสหกรณ์นิคมเชิงคุณค่า
หัวหน้าโครงการวิจัย: นายประพฤทธิ์ โภคา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการส่วนจัดนิคมสหกรณ์กรมส่งเสริมสหกรณ์
เริ่มเมื่อ: 2 เมษายน 2551 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1 แนวทางการพัฒนาสหกรณ์นิคมอย่างเป็นระบบ เพื่อก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และนำประโยชน์สู่สมาชิกและชุมชนควร มีทิศทางอย่างไร
2 แนวทางปฏิบัติสำหรับการพัฒนาสหกรณ์นิคม สู่การเป็นสหกรณ์นิคมเชิงคุณค่า ที่จะก่อให้เกิด การใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่าง เหมาะสม โดยมีสหกรณ์เป็นแกนประสาน การมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการผลิต และการตลาดในแนวทางของการเชื่อมโยง เครือข่ายคุณค่าเป็นอย่างไร
3 ตัวแบบสำหรับฐานข้อมูลที่จะสนับสนุน การพัฒนาสหกรณ์นิคมเชิงคุณค่าเป็นอย่างไร
5
ชื่อโครงการ: เครือข่ายคุณค่าข้าวคุณธรรม
หัวหน้าโครงการวิจัย: นายนิคม เพชรผา มูลนิธิธรรมะร่วมใจ
เริ่มเมื่อ: 2 เมษายน 2551 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1 ตัวแบบการปลูกจิตสำนึกเพื่อให้เกิดความร่วมมือในกลุ่มชาวนาผู้ปลูกข้าวคุณธรรม ควรเป็นอย่างไร จึงจะก่อให้เกิดการพัฒนาวิถีชีวิต ชาวนา ในทิศทาง “ศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา” ตามที่ตั้งใจ
2 แนวทางการขยายผล “เครือข่ายคุณค่าข้าวคุณธรรม” เพื่อการสร้างระบบการผลิต และการค้าข้าวที่เป็นธรรม ควรเป็นอย่างไร
6
ชื่อโครงการ: เครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์ จังหวัดพังงา
หัวหน้าโครงการวิจัย: นายนารถพงศ์ สุนทรนนท์ ตำแหน่ง สหกรณ์จังหวัดพังงา
เริ่มเมื่อ: 2 เมษายน 2551 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1 เครื่องมือในการปรับกระบวนทัศน์ แก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวชุมชนเชิงอนุรักษ์
ควรเป็นอย่างไร
2 แนวทางการขยายผลไปสู่ภาคีพันธมิตรสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจควร ดำเนินการอย่างไร
3 แนวทางการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้ธุรกิจท่องเที่ยวชุมชนอนุรักษ์เป็น อย่างไร
4 แนวทางการสนับสนุนของรัฐที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร

7
ชื่อโครงการ: เครือข่ายคุณค่าข้าวหอมมะลิสหกรณ์ไทย
หัวหน้าโครงการวิจัย: นางบุญเกิด ภานนท์ ตำแหน่ง ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตร เกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
เริ่มเมื่อ: 2 เมษายน 2551 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1 แนวทางการเชื่อมโยงธุรกิจภายใต้ห่วงโซ่อุปทาน ที่มีสหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย จำกัด เป็นแกนนำ จะทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมาย ร่วมของภาคีพันธมิตร ตามแนวทางของเครือข่ายคุณค่า
2 เครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจข้าวหอมมะลิ ควรเป็นอย่างไร
3 แนวทางการบริหารจัดการของเครือข่ายธุรกิจข้าวหอมมะลิ ควรดำเนินการอย่างไร จึงจะเกิดความยั่งยืน
8
ชื่อโครงการ: เครือข่ายคุณค่าผลไม้
หัวหน้าโครงการวิจัย: คุณศศิธร วิเศษ ตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สหกรณ์จังหวัดจันทบุรี
เริ่มเมื่อ: วันที่ 15 กันยายน 2551
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1 กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรและสมาชิกสหกรณ์มีปัญหา อุปสรรคอย่างไร ในการผลิตสินค้า ให้มีคุณภาพ มาตรฐานและตรงตาม ความต้องการของตลาด
2 รูปแบบการทำสวนผลไม้คุณภาพของเกษตรกร และสมาชิกสหกรณ์ ที่จะก่อให้เกิดการสร้าง “เครือข่ายการเรียนรู้” และเป็นผลดีีต่อเกษตรกรควรเป็นอย่างไร
3 รูปแบบและกระบวนการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ รวบรวมผลไม้คุณภาพที่มีสหกรณ์การเกษตร เป็นแม่ข่าย ควรมีบทบาทอย่างไร ในการเชื่อมโยง และพัฒนาเครือข่ายการผลิตผลไม้คุณภาพ
4 กลไกการส่งเสริมจากภาครัฐ ควรเป็นอย่างไร
9
ชื่อโครงการ: เครือข่ายคุณค่ามันสำปะหลัง
หัวหน้าโครงการวิจัย: อ.ดร.ธวิช สุดสาคร ตำแหน่งคณบดี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
เริ่มเมื่อ: วันที่ 15 กันยายน 2551
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1 ตัวแบบการทำไร่มันสำปะหลังภายใต้เครือข่ายสหกรณ์ การเกษตรที่จะนำผลประโยชน์สูงสุด กลับคืนสู่สมาชิก ควรเป็นอย่างไร
2 รูปแบบและกระบวนการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ มันสำปะหลังภายใต้โซ่อุปทานที่มีสหกรณ์ การเกษตรเป็นแม่ข่าย ควรเป็นอย่างไร จึงจะก่อให้เกิดผลดีต่อเกษตรกร ผู้ปลูกมันสำปะหลัง และเศรษฐกิจสังคมโดยรวม
3 กลไกการส่งเสริมจากภาครัฐ ควรเป็นอย่างไร

10
ชื่อโครงการ: เครือข่ายคุณค่ากระจายสินค้า
หัวหน้าโครงการวิจัย: คุณดวงทิพย์ ระเบียบ ตำแหน่ง นักวิจัย
เริ่มเมื่อ: วันที่ 15 กันยายน 2551
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1 ชนิด รูปแบบ กระบวนการจัดหาและกระจายสินค้าสหกรณ์และชุมชน
2 เพื่อช่วยเผยแพร่ภาพลักษณ์สหกรณ์และชุมชน แก่กลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางการจำหน่าย ร้านไปรษณีย์ไทยและพันธมิตรธุรกิจควรเป็น
อย่างไร ระบบการบริหารจัดการเครือข่ายฯ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และความยั่งยืนควรเป็นอย่างไร
3 รัฐควรเข้ามาหนุนเสริมอย่างไร
11
ชื่อโครงการ: เครือข่ายคุณค่ายางพารา
หัวหน้าโครงการวิจัย: รศ.ศานิต เก้าเอี้ยน ตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เริ่มเมื่อ: วันที่ 15 กันยายน 2551
สถานะของโครงการ:เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1 ข้อจำกัดของเกษตรกรชาวสวนยางพารา และการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์เป็น อย่างไรบ้าง
2 ตัวแบบการทำสวนยางพาราภายใต้เครือข่ายสหกรณ์ การเกษตรที่จะนำผลประโยชน์สูงสุด คืนสู่สมาชิก ควรเป็นอย่างไร
3 รูปแบบและกระบวนการเชื่อมโยงเครือข่ายยางพารา ที่มีสหกรณ์การเกษตรเป็นแกนนำ ภายใต้โซ่อุปทาน ควรเป็นอย่างไร
4 กลไกของรัฐที่ช่วยหนุนเสริมการประกอบอาชีพ ของชาวสวนยางพาราอย่างยั่งยืน ควรเป็นอย่างไร