โครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ปี 2555
 
1
ชื่อโครงการวิจัย: ชุดโครงการวิจัยขับเคลื่อนการพัฒนาการสหกรณ์และการค้าที่เป็นธรรม ระยะที่ 5
หัวหน้าโครงการวิจัย: รศ.จุฑาทิพย์ ภัทราวาท ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์
เริ่มเมื่อ: 1 ก.ค. 54 -30 ก.ย. 55 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 15 เดือน
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณDownload รายงานฉบับสมบูรณ์
วัตถุประสงค์:
1.ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา เพื่อได้มาซึ่งชุดความรู้และนวัตกรรมเพื่อการเผยแพร่และการใช้ประโยชน์ในสังคม
2. เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนและพัฒนาการนำคุณค่าสหกรณ์สู่การปรับเปลี่ยนค่านิยม วิถีคิด วิถีการทำงานในองค์กร
3. ประสานงานและสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาของชุดโครงการวิจัยในการพัฒนาระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม
4. การขับเคลื่อนหลักสูตรเรียนรู้และศูนย์เรียนรู้ภายใต้กรอบระบบคุณค้าและการค้าที่เป็นธรรม
5. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนการขับเคลื่อนพัฒนาการสหกรณ์เชิงอัตลักษณ์ เพื่อขานรับปีสากล
แห่งสหกรณ์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนแนวทาง "การพิ่งพาและร่วมมือกัน" พัฒนาเศรฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
6. การติดตามหนุนเสริมเครือข่ายที่เป็นผลผลิตของชุดโครงการฯ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาในสหกรณ์ในเชิงอัตลักษณ์อย่าง
ต่อเนื่องและเกิดประโยชน์ต่อชุมชน
2
ชื่อโครงการวิจัย:โครงการวิจัยลู่ทางการพัฒนาไปสู่ระบบการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เชิงคุณธรรม
หัวหน้าโครงการวิจัย: คุณนิคม เพชรผม
เริ่มเมื่อ: 1 มิ.ย. 54 -31 พ.ค. 55 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: ดำเนินการ
วัตถุประสงค์:
1.เพื่อสืบค้น ศึกษาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบ การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ /การประกันคุณภาพที่เหมาะสม
/ การประกันคุณภาพภายในที่เหมาะสม ต่อการพัฒนาระบบการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เชิงคุณธรรม
2. สร้างระบบการรับรองมาตรฐาน / การประกันคุณภาพภายในสำหรับ "มาตรฐานเกษตรอินทรีย์เชิงคุณธรรม"
3. เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับระบบการตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์คุณธรรมที่นำไปสู่ความน่าเชื่อถือใน
ระดับสากล
3
ชื่อโครงการวิจัย: โครงการวิจัยการพัฒนาและดำเนินการตัวแบบร้าน Farmer Shop ระยะที่ 2
หัวหน้าโครงการวิจัย: รศ.จุฑาทิพย์ ภัทราวาท ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์
เริ่มเมื่อ: 15 ตุลาคม 2554 - 14 กันยายน 2556 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 24 เดือน
สถานะของโครงการ: ดำเนินการ
วัตถุประสงค์:
1.การจัดตั้งและดำเนินการร้าน Farmer Shop ในรูปแบบโครงการนำร่อง เพื่อทดสอบระบบและพัมนาไปสู่การนำไปใช้
ประโยชน์ในฐานนะการเป็นทางเลือกแก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการในการเข้าถึงตลาด ที่มีแนวทางของการค้าที่เป็นธรรม
และการเป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภคในการเข้าถึงแหล่งจำหน่าย สินค้าคุณภาพ ราคาเป็นธรรม
2.การสร้างแบรนด์ Farmer Shop เพื่อเข้าถึงผู้ผลิต และผู้บริโภค
4
ชื่อโครงการวิจัย: เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการพัฒนาสหกรณ์
หัวหน้าโครงการวิจัย: สายสุดา ศรีอุไร ตำแหน่ง นักวิจัย
เริ่มเมื่อ:15 สิงหาคม 2554 - 14 ตุลาคม 2555 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 15 เดือน
สถานะของโครงการ: ดำเนินการ
คำถามวิจัย:
1.เพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายสารสนเทศสหกรณ์ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ให้สามารถเข้าถึงผู้นำและฝ่ายบริหารจัดการสหกรณ์ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในสหกรณ์ทุกระดับ
2.เพื่อพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศสหกรณ์ ผ่านกลไกวารสารสหกรณ์ (co-op : Magazine Thailand) ให้สามารถเข้าถึงผู้นำและ
ฝ่ายบริหารจัดการสหกรณ์ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในสหกรณ์ทุกระดับ
5
ชื่อโครงการวิจัย: เครือข่ายข้าวหอมมะลิสหกรณ์ไทย ระยะที่ 3
หัวหน้าโครงการวิจัย: คุณบุญเกิด ภานนท์ ตำแหน่ง ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตร เกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
เริ่มเมื่อ: 1 กันยายน 2554 - 31 สิงหาคม 2555 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: ดำเนินการ
คำถามวิจัย:
1.ทำอย่างไรจึงจะทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจในการซื้อและบริโภค "ข้าวเกิดบุญ"
2.การผนึกกำลังของภาคีเครือข่ายฯในการรักษาคุณภาพมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย ควรอย่างไร
3.การขับเคลื่อนการดำเนินงานของเครือข่ายฯ ที่จะก่อให้เป็นผลดีต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ และเป็นภาคีเครือข่ายในการทำประโยชน์สู่สมาชิกควรเป็นอย่างไร
6
ชื่อโครงการวิจัย: เครือข่ายคุณค่าผลไม้ ปีที่ 3
หัวหน้าโครงการวิจัย: คุณศศิธร วิเศษ ตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สหกรณ์จังหวัดจันทบุรี
เริ่มเมื่อ: 15 กันยายน 2554 - 14 กันยายน 2555 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: ดำเนินการ
คำถามวิจัย:
1.กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรและสมาชิกสหกรณ์มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร ในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพมาตรฐาน และตรง
ตามความต้องการของตลาด
2.รูปแบบการทำสวนผลไม้คุณภาพของเกษตรกร และสมาชิกสหกรณ์ ที่จะก่อให้เกิดการสร้าง "เครือข่ายการเรียนรู้" และเป็นผลดีต่อเกษตรกรควรเป็นอย่างไร
3.รูปแบบและกระบวนการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจรวบรวมผลไม้คุณภาพที่มีสหกรณ์การเกษตรเป็นแม่ข่าย ควรมี
บทบาทอย่างไร ในการเชื่องโยง และพัฒนาเครือข่ายการผลิตผลไม้คุณภาพ
4.กลไกการส่งเสริมจากภาครัฐ ควรเป็นอย่างไร

7
ชื่อโครงการวิจัย: เครือข่ายคุณค่ายางพารา
หัวหน้าโครงการวิจัย: รศ.ศานิต เก้าเอี้ยน ตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เริ่มเมื่อ: 15 มกราคม 2554 - 14 มกราคม 2555 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: ดำเนินการ
คำถามวิจัย:
1.รูปแบบการบริหารจัดการของสหกรณ์เพื่อเชื่อมโยงจากกระบวนการผลิตของสมาชิก และการดำเนินธุรกิจของ เครือข่ายภายใต้โซ่อุปทานควรทำอย่างไร
2.ช่องทางการตลาดทางเลือกใหม่สำหรับสหกรณ์ เพื่อลดข้อจำกัดของเกษตรชาวสวนยางพาราและสหกรณ์ และเชื่อมโยงไปสู่ตลาดปลานทางจะต้องทำอย่างไร
3.รูปแบบและกระบวนการเชื่อมโยงเครือข่ายยาวพาราตั้งแต่การผลิตจนถึงการส่งออกที่มีสหกรณ์การเกษตร เป็นแกนนำ ภายใต้โซ่อุปทานควรมีรูปแบบอย่างไร
4.กลไกของรัฐที่ช่วยหนุนเสริมการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์อย่างยั่งยืนนั้นควรช่วย ในลักษณะใดบ้าง
8
ชื่อโครงการวิจัย: การสร้างโซ่อุปทานระหว่างประเทศสำหรับสถาบันเกษตรกรไทย : ศึกษาเฉพาะผลิตภัณฑ์สมุนไพร
หัวหน้าโครงการวิจัย: ดร.ธนภัท  แสงอรุณ
เริ่มเมื่อ: 1 ก.ย. 55 - 31 ส.ค. 56 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: ดำเนินการ
คำถามวิจัย:
1การสร้างโซ่อุปทานระหว่างประเทศโดยสถาบันเกษตรกรที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรควรมีรูปแบบอย่างไร
2.ปัจจัยใดที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างโซ่อุปทานระหว่างประเทศโดยสถาบันเกษตรกรที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรซึ่งมีศักยภาพ
3.ภาครัฐและเอกชนควรมีมาตรการใดเพื่อเอื้ออำนวยให้สถาบันเกษตรกรที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรสามารถสร้างโซ่อุปทาน
ระหว่างประเทศมีจำนวนมากขึ้น
9
ชื่อโครงการวิจัย: โครงการวิจัยแนวทางการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันภายใต้โซ่อุปทานของธุรกิจสหกรณ์การเกษตรไทย
หัวหน้าโครงการวิจัย: คุณณัฐกานต์ สหวัชรินทร์
เริ่มเมื่อ: 15 ก.ย. 55-14 มิ.ย. 56 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 10 เดือน
สถานะของโครงการ: ดำเนินการ
คำถามวิจัย:
1การบริหารจัดการโซ่อุปทาน และความร่วมมือของโซ่อุปทานของธุรกิจสหกรณ์การเกษตรมีรูปแบบเป็นอย่างไร และมีความแตกต่างในด้านศักยภาพในการแข่งขันแต่ละมิติ ของแต่ละช่องทางอย่างไร
2.จะสามารถยกระดับความร่วมมือเชิงพันธมิตรและระดับศักยภาพในการแข่งขันแก่โซ่อุปทานของธุรกิจสหกรณ์การเกษตรไทย
ได้อย่างไร
10
ชื่อโครงการวิจัย: โครงการวิจัยการยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบสหกรณ์โดยกลไกผู้ตรวจสอบกิจการ
หัวหน้าโครงการวิจัย: คุณผานิต บูรณ์โภคา
เริ่มเมื่อ: 1 ก.ย. 55-31 ส.ค. 56 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: ดำเนินการ
คำถามวิจัย:
1แนวทางการการยกระดับความสามารถผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์สู่การตรวจสอบกิจการที่ได้มาตรฐานควรเป็นอย่างไร

2.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดมาตรฐานการตรวจสอบ
3.แนวทางในการกำหนดวิธีการดำเนินงานตรวจสอบกิจการสหกรณ์
4. ขีดความสามารถของผู้ตรวจสอบกิจการที่มีคุณภาพ
11
ชื่อโครงการวิจัย: โครงการวิจัยการสร้างนวัตกรรมของขบวนการไทยในช่วงเวลาของแผนพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ
หัวหน้าโครงการวิจัย: ดร.โชคชัย   สุทธาเวศ
เริ่มเมื่อ: 28 ก.ย. 55-27 พ.ค. 56 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 9 เดือน
สถานะของโครงการ: ดำเนินการ
คำถามวิจัย:
1นวัตกรรมภายในขบวนการสหกรณ์มีอะไรบ้าง

2.การพัฒนาหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร
3.แผนพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติฉบับที่หนึ่งและสองเกื้อหนุนต่อการพัฒนาหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือไม่และอย่างไร
12
ชื่อโครงการวิจัย:โครงการวิจัยการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาศักยภาพกลุ่มท่องเที่ยวผ่านแนวคิดเครือข่ายคุณค่าสหกรณ์
หัวหน้าโครงการวิจัย: ดร.ธวิช  สุดสาคร
เริ่มเมื่อ: 28 ก.ย. 55-27 ก.ย. 56 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: ดำเนินการ
คำถามวิจัย:
1นวัตกรรมภายในขบวนการสหกรณ์มีอะไรบ้าง จำแนกเป็นประเภทๆ เช่น รูปแบบธุรกิจ

2.การพัฒนาหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร มีปัจจัยด้านองค์การและปัจจัยอื่นๆ อะไรบ้าง
3.แผนพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติฉบับที่หนึ่งและสองและบริบทของการดำเนินการตามแผนดังกล่าวเกื้อหนุนต่อ
การพัฒนาหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือไม่และอย่างไร
13
ชื่อโครงการวิจัย: กลุ่มธุรกิจเชิงคุณค่าสวนสามพราน ระยะที่ 3
หัวหน้าโครงการวิจัย: คุณอรุษ นวราช
เริ่มเมื่อ: 15 กันยายน 2554 - 14 กันยายน 2555 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: ดำเนินการ
คำถามวิจัย:
1.ตัวแบบในการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจสหกรณ์เชิงคุณค่าควรเป็นอย่างไร
2.กระบวนการในการทำงานร่วมกันของสหกรณ์ ผู้ประกอบการ และชุมชน ภายใต้กลุ่มธุรกิจสหกรณ์ควรเป็นอย่างไร จึงจะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน และมีแนวทางปฏิบัติไปทิศทางการนำคุณค่าของสมาชิกและชุมชน อีกทั้งก่อให้เกิดการผนึกกำลังเพื่อสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มธุรกิจ