โครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ปี 2553
 
1
ชื่อโครงการวิจัย: กลุ่มธุรกิจเชิงคุณค่าสวนสามพราน
หัวหน้าโครงการวิจัย: คุณอรุษ นวราช
เริ่มเมื่อ: 15 สิงหาคม 2552 - 14 สิงหาคม 2553 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1.ตัวแบบในการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจสหกรณ์เชิงคุณค่าควรเป็นอย่างไร
2.กระบวนการในการทำงานร่วมกันของสหกรณ์ ผู้ประกอบการ และชุมชน ภายใต้กลุ่มธุรกิจสหกรณ์ควรเป็นอย่างไร จึงจะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน และมีแนวทางปฏิบัติไปทิศทางการนำคุณค่าของสมาชิกและชุมชน อีกทั้งก่อให้เกิดการผนึกกำลังเพื่อสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มธุรกิจ
2
ชื่อโครงการวิจัย: การพัฒนาตัวแบบสหกรณ์เชิงคุณค่า: กรณีสหกรณ์การเกษตรบ้านค่าย จำกัด
หัวหน้าโครงการวิจัย: คุณสัมพันธ์ บูรณยาพร ตำแหน่ง นักวิจัย
เริ่มเมื่อ: 15 สิงหาคม 2552 - 14 สิงหาคม 2553 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1.อย่างไรบุคลากรสหกรณ์จึงจะเข้าใจในคุณค่าสหกรณ์ หลักการ วิธีการสหกรณ์ และเข้ามามีส่วนร่วม อย่างเหมาะสม เกื้อหนุนการพัฒนาสหกรณ์เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกและชุมชน
2.ทำอย่างไรสหกรณ์จึงจะสามารถดำเนินธุรกิจให้บริการแก่สมาชิกชาวสวนยางพารา และสวนผลไม้ในทิศทางที่เกื้อหนุนการประกอบอาชีพของสมาชิกอย่างยั่งยืนภายใต้การค้าเสรี ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
3
ชื่อโครงการวิจัย: เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการพัฒนาสหกรณ์
หัวหน้าโครงการวิจัย: รศ.จุฑาทิพย์ ภัทราวาท ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์
เริ่มเมื่อ:15 สิงหาคม 2552 - 14 สิงหาคม 2553 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1.เพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายสารสนเทศสหกรณ์ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ให้สามารถเข้าถึงผู้นำและฝ่ายบริหารจัดการสหกรณ์ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในสหกรณ์ทุกระดับ
2.เพื่อพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศสหกรณ์ ผ่านกลไกวารสารสหกรณ์ (co-op : Magazine Thailand) ให้สามารถเข้าถึงผู้นำและฝ่ายบริหารจัดการสหกรณ์ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในสหกรณ์ทุกระดับ
4
ชื่อโครงการวิจัย: เครือข่ายข้าวหอมมะลิสหกรณ์ไทย ระยะที่ 2
หัวหน้าโครงการวิจัย: คุณบุญเกิด ภานนท์ ตำแหน่ง ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตร เกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
เริ่มเมื่อ: 1 กันยายน 2552 - 31 สิงหาคม 2553 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1.ทำอย่างไรจึงจะทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจในการซื้อและบริโภค "ข้าวเกิดบุญ"
2.การผนึกกำลังของภาคีเครือข่ายฯในการรักษาคุณภาพมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทย ควรอย่างไร
3.การขับเคลื่อนการดำเนินงานของเครือข่ายฯ ที่จะก่อให้เป็นผลดีต่อการดำเนินงานของสหกรณ์ และเป็นภาคีเครือข่ายในการทำประโยชน์สู่สมาชิกควรเป็นอย่างไร
5
ชื่อโครงการวิจัย: เครือข่ายคุณค่ากาแฟชุมพร
หัวหน้าโครงการวิจัย: นายเชาวน์วัศ หอมชุ่ม
เริ่มเมื่อ: 1 พฤษภาคม 2552 - 30 เมษายน 2553 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1.ทางเลือกสำหรับเทคโนโลยีการปลูกกาแฟเพื่อให้เกิดการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตต่อไร่มีอะไรบ้าง
2.การบริหารจัดการโซ่อุปทานกาแฟ โดยสหกรณ์การเกษตร เพื่อนำประโยชน์สู่สมาชิกควรเป็นอย่างไร
3.การสร้างตราสินค้ากาแฟในมิติของการอนุรักษ์ทรัพยากร-สิ่งแวดล้อมจะเป็นไปได้อย่างไร
6
ชื่อโครงการวิจัย: เครือข่ายคุณค่าผลไม้
หัวหน้าโครงการวิจัย: คุณศศิธร วิเศษ ตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสหกรณ์ สหกรณ์จังหวัดจันทบุรี
เริ่มเมื่อ: 15 กันยายน 2552 - 14 กันยายน 2553 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1.กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรและสมาชิกสหกรณ์มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร ในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพมาตรฐาน และตรงตามความต้องการของตลาด
2.รูปแบบการทำสวนผลไม้คุณภาพของเกษตรกร และสมาชิกสหกรณ์ ที่จะก่อให้เกิดการสร้าง "เครือข่ายการเรียนรู้" และเป็นผลดีต่อเกษตรกรควรเป็นอย่างไร
3.รูปแบบและกระบวนการเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจรวบรวมผลไม้คุณภาพที่มีสหกรณ์การเกษตรเป็นแม่ข่าย ควรมี บทบาทอย่างไร ในการเชื่องโยง และพัฒนาเครือข่ายการผลิตผลไม้คุณภาพ
4.กลไกการส่งเสริมจากภาครัฐ ควรเป็นอย่างไร

7
ชื่อโครงการวิจัย: เครือข่ายคุณค่ายางพารา
หัวหน้าโครงการวิจัย: รศ.ศานิต เก้าเอี้ยน ตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เริ่มเมื่อ: 15 มกราคม 2552 - 14 มกราคม 2553 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1.รูปแบบการบริหารจัดการของสหกรณ์เพื่อเชื่อมโยงจากกระบวนการผลิตของสมาชิก และการดำเนินธุรกิจของ เครือข่ายภายใต้โซ่อุปทานควรทำอย่างไร
2.ช่องทางการตลาดทางเลือกใหม่สำหรับสหกรณ์ เพื่อลดข้อจำกัดของเกษตรชาวสวนยางพาราและสหกรณ์ และเชื่อมโยงไปสู่ตลาดปลานทางจะต้องทำอย่างไร
3.รูปแบบและกระบวนการเชื่อมโยงเครือข่ายยาวพาราตั้งแต่การผลิตจนถึงการส่งออกที่มีสหกรณ์การเกษตร เป็นแกนนำ ภายใต้โซ่อุปทานควรมีรูปแบบอย่างไร
4.กลไกของรัฐที่ช่วยหนุนเสริมการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์อย่างยั่งยืนนั้นควรช่วย ในลักษณะใดบ้าง
8
ชื่อโครงการวิจัย: เครือข่ายคุณค่ามันสำปะหลัง
หัวหน้าโครงการวิจัย: คุณธวิช สุดสาคร
เริ่มเมื่อ: 15 กันยายน 2552 - 14 กันยายน 2553 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย:
1.เพื่อสร้างตัวแบบการทำไร่มันสำปะหลังภายใต้เครือข่ายสหกรณ์การเกษตร
2.เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจมันสำปะหลังโซ่อุปทานที่มีสหกรณ์เป็นแม่ข่าย จะก่อให้้เกิดผลดีต่อเกษตรกรผู้ปลูก
มันสำปะหลัง และเศรษฐกิจสังคมโดยรวม ภายใต้การนำของสหกรณ์เกษตร
3.เพื่อศึกษาปัญหา และอุปสรรคของการดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และ 2 ในการสรุปสาระและประเด็นต่างๆ
เพื่อนำเสนอ แนวทางในการกำหนดนโยบาย และการส่งเสริมจากภาครัฐ
9
ชื่อโครงการวิจัย: โครงการวิจัยการพัฒนาและดำเนินการตัวแบบร้าน Farmer Shop
หัวหน้าโครงการวิจัย: รศ.จุฑาทิพย์ ภัทราวาท ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์
เริ่มเมื่อ: 15 กันยายน 2552 - 14 กันยายน 2553 ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 12 เดือน
สถานะของโครงการ: เสร็จสมบูรณ์
คำถามวิจัย: