เนื้อหาสาระในวารสารฅนสหกรณ์์
 

ปีที่ 2 ฉบับที่ 6
ธันวาคม 2552 ถึง กุมภาพันธ์ 2553
เรื่องเด่นในเล่ม
สหกรณ์การเงินในสถานการณ์วิกฤตการเงินและการลดปัญหาความยากจน
     

      สหกรณ์การเงินมักเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ เครดิตยูเนี่ยน สหกรณ์ออมทรัพย์และสินเชื่อ หรือธนาคารเพื่อการสหกรณ์ ซึ่ง การดำเนินงานของสหกรณ์การเงินไม่ได้ขับเคลื่อนโดยกำไรเท่านั้น แต่จะเป็นไปเพื่อคุณค่าและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันอย่าง หลากหลายมากกว่าธนาคารที่เป็นเจ้าของโดยนักลงทุนเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้สหกรณ์การเงินยังมีวัตถุประสงค์ทางสังคมที่ให้ความ สำคัญกับการบริการและตอบสนองต่อความต้องการของสมาชิกด้วย โดยทั่วไปแล้วสหกรณ์การเงินดำเนินงานในระดับการค้าปลีก และในระดับเล็กกว่าธนาคารของนักลงทุน จึง ต้องกำหนดให้บัญชีเงินฝากของสมาชิกมี ความมั่นคงก่อนที่จะให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นการ ทำให้สมาชิกได้เรียนรู้ในการประหยัด อดออม และจากการที่มีโครงสร้างของ ต้นทุนตํ่ากว่าธนาคารแบบอื่นๆ สหกรณ์ การเงินจึงสามารถจ่ายอัตราดอกเบี้ยเงิน ฝากได้สูงกว่า และคิดอัตราดอกเบี้ยเงิน กู้ที่ตํ่ากว่าธนาคารอื่นได้.....สว.สก
วิพากษ์เส้นทางงานวิจัย
     
      วันพุธที่ 21 ตุลาคม 2552 สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ได้จัดการ ประชุม เพื่อวิพากษ์เส้นทางงานวิจัย โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับการสหกรณ์เข้าร่วมให้คำวิพากษ์ในครั้งนี้ ซึ่ง รศ.จุฑาทิพย์ ภัทราวาท ผู้อำนวยการสถาบันฯ ได้กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ในการประชุม คือ เพื่อเปิดโอกาสให้มี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยด้านสหกรณ์ เพื่อติดตามประเมิน ผลเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสำรวจความต้องการเกี่ยวกับงานวิจัยของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เนื่องจากสถาบันฯ ได้ทำงานในชุดโครงการวิจัย “การขับเคลื่อนการพัฒนาการสหกรณ์ และการค้าที่เป็นธรรม” ซึ่งมี จุดมุ่งหมายในระยะยาวที่จะนำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงบริบทการดำเนินงานของ การสหกรณ์ไทย ไปสู่บริบทขององค์การ ธุรกิจในมิติของการพัฒนาเศรษฐกิจฐาน สังคม (Social economy) ภายใต้ บริบท ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เป็นพลวัตโดยมีวัตถุประสงค์ในการนำชุดความรู้เรื่อง “การเชื่อมโยงคุณค่า” และการบริหารจัดการ โซ่อุปทานมาต่อยอดและขยายผลในรูปของ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมใน 3 กลุ่มงานวิจัย รวมทั้งหมด 11 โครงการย่อย.....สว.สก.
ชวนกันคิดเรื่องการกำหนดให้สหกรณ์เป็นวาระแห่งชาติ
     
      เนื้อหาสาระประกอบด้วย ส่วน ที่หนึ่ง กล่าวถึงความจำเป็นของสหกรณ์ ในฐานะเป็นรูปแบบขององค์การธุรกิจ ทางเลือกที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรราย ย่อย ผู้มีรายได้น้อย ข้าราชการและลูกจ้าง ในหน่วยงานเดียวกัน ตลอดจนคนใน ชุมชนได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ร่วมกัน โดยยึดแนวทางของคุณค่าสหกรณ์และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะช่วย ลดข้อจำกัดสำหรับกระบวนการแก้ปัญหา ทางเศรษฐกิจและสังคมที่หน่วยงานรัฐและ เอกชนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ส่วนที่สอง กล่าวถึงบริบทของสหกรณ์ในด้านเศรษฐกิจ และสังคม ได้แก่ การส่งเสริมการออม การเอื้อประโยชน์ต่อการเข้าถึงแหล่งทุนของ สมาชิก การส่งเสริมอาชีพ การส่งเสริมการ ผลิตพืชอาหารและพืชพลังงานแก่เกษตรกร รายย่อย และบริบทที่มีต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมของประเทศ (GDP) และการจัด สวัสดิการต่างๆแก่สมาชิกและชุมชน ส่วน ที่สาม ทิศทางการพัฒนาการสหกรณ์ : และการสนับสนุนจากภาควิชาการ ส่วนที่สี่ บทสังเคราะห์การแก้ปัญหาความยากจนบน วิถีสหกรณ์.....จุฑาทิพย์ ภัทราวาท
ผลกระทบจากการเปิดเสรีอาเชียนที่มีต่อสหกรณ์
      วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เป็นตัวแทนจัดเวทีเสวนาเพื่อตั้งรับกับผลกระทบ จากการลงทุนอาเซียนของสหกรณ์ ซึ่งมีตัวแทนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้จัดการสหกรณ์ และ ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านเข้าร่วมการเสวนา โดยได้รับเกียรติจากปราชญ์ของแผ่นดิน ศ.ดร.ระพี สาคลิก เข้าร่วมเวทีเสวนาในครั้งนี้ด้วย
      สือเนื่องจากการที่ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ระบบการค้าเสรีอาเซียนในปีหน้านี้ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามีความเคลื่อนไหวจากหลายฝ่้าย ทั้งที่เห็นดีและมีข้อกังวลต่อพันธกรณีต่างๆ ที่ไทยต้องรับมือ สถาบันฯ ในฐานะที่ดำเนินการโครงการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาการสหกรณ์และการค้าที่เป็นธรรม จึงได้จัดเวทีเสวนานี้ขึ้น เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาครัฐ ภาควิชาการ และฝ่ายจัดการสหกรณ์เกี่ยวกับประเด็นข้อสังเกต จากฝ่ายจัดการสหกรณ์ และมาตรการที่ต้องเตรียมตัวเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น......สว.สก.

 

สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชั้น 2 อาคารวิจัยและพัฒนา เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว
เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์/แฟกซ์ 0-2940-6300 อีเมล์ cai_coop@yahoo.com