ธุรกิจฐานสังคมและชุมชน
หลักการสหกรณ์ ทำกิจกรรมแบบแบ่งปันช่วยเหลือกัน ไม่ใช่แสวงหากำไรเหมือนบริษัท...สมาชิกสหกรณ์เป็นหนี้ ต้องช่วยเหลือกันแบบเข้าอกเข้าใจ ไม่ใช่ทวงเอาหนี้คืนทั้งหมดในคราเดียว ตามหลักสหกรณ์มันต้องใช้วิธีผ่อนผันให้ค่อยทยอยส่งหนี้ได้...การตั้งค่าเผื่อหนี้สูญก็ควรยืดหยุ่นเช่นกัน อาจจะ 20-30-40% อ่านต่อ สามพราน ริเวอร์ไซด์ มุ่งพัฒนาสู่ธุรกิจท่องเที่ยวต้นแบบสีเขียว  จนได้รับรางวัลธุรกิจเพื่อสังคมแห่งเอเชียและมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ระดับสากล  โดยมีความร่วมมือกับเครือข่ายเกษตรกร และนักวิชาการ ตอบย้ำความความเชื่อมั่น มุ่งพัฒนาก้าวสู่องค์กรธุรกิจท่องเที่ยวต้นแบบสีเขียว ที่ใส่ใจต่อผู้บริโภค ชุมชนและสิ่งแวดล้อม  และมีการกำหนดปณิธานร่วมว่า “ ภาคีทุกคนต้องเข้าใจและเข้าถึงเกษตรอินทรีย์  โดยมีสวนสามพรานเป็นเสาหลัก ในการให้ความรู้และปัญญาไปสู่การกินดี อยู่ดี มีความสุขถ้วนหน้า” และใช้”ตลาดสุขใจ”เป็นกลไกเรียนรู้และเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค อ่านต่อ
มอนดรากอน คอร์ปอเรชั่น เป็นกลุ่มสหกรณ์ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศสเปน ถูกกล่าวขานว่าเป็นกลุ่มสหกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (มียอดขายอันดับ 7 ในสเปนและเป็นอันดับหนึ่งในยุโรป) ซึ่งประกอบไปด้วย สหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจหลากหลาย  หนึ่งในนั้นมอนเดรกอนในฐานะที่เป็นสหกรณ์คนงาน(worker cooperative) ได้ใช้แนวทางการปรับตัวในยุคโลกาภิวัฒน์ ด้วยการปรับโครงสร้างการดำเนินงานและใช้กลยุทธ์การบริหารแบบหลากหลายถิ่น เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และการดำรงอยู่ของสหกรณ์เพื่อประโยชน์ของสมาชิก อ่านต่อ ในช่วงเวลากว่าทศวรรษที่ผ่านมา  ภาคธุรกิจเอกชนมีการกล่าวถึง CSR และธุรกิจเพื่อสังคมกันมากขึ้น รวมทั้งสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ก็ได้พูดถึง ธุรกิจฐานสังคม ซึ่งเป็นตัวแบบธุรกิจที่เป็นผลผลิตจากการวิจัย ภายใต้ชุดโครงการวิจัย “การพัฒนาการสหกรณ์และการค้าที่เป็นธรรม” โดยทั้ง 3 เรื่องดังกล่าวมีเป้าหมายในการดำเนินการเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมเพื่อแก้ปัญหาความยากจน  ส่งเสริมให้เกิดการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ตลอดจนความเหลื่อมล้ำทางสังคม เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน ในที่นี้จึงจะได้กล่าวถึงความหมาย บทบาท  และกิจกรรมการดำเนินงานของCSR ธุรกิจเพื่อสังคมและธุรกิจฐานสังคมที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน อ่านต่อ
เป็นเวลาหลายปีแล้วที่เราได้เห็นรูปแบบของรูปแบบที่เปลี่ยนไปของสหกรณ์ที่เกิดขึ้น    ในสหกรณ์การเกษตรหลายแห่งเราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสิทธิการออกเสียงลงคะแนนโดยให้อำนาจแก่สมาชิกมากขึ้น  เรายังได้เห็นการเปลี่ยนแปลงกฎให้มีการยอมรับสมาชิก สหกรณ์บางส่วนได้เปลี่ยนไปเป็นบริษัทหุ้นส่วน เช่นเดียวกับสหกรณ์แรงงานเราได้เปลี่ยนรูปแบบมอนดรากอนที่พนักงานมีความเป็นเจ้าของในสหกรณ์สูงมาก นอกจากนี้ยังมีรูปแบบสหกรณ์อื่นๆ เช่น รูปแบบของ John Lewis และการเติบโตของโครงสร้างการถือหุ้นที่สหกรณ์มีการเติบโตและขยายกิจการ    อ่านต่อ
  • ทำไมต้องเป็น Farmer  Shop ?
  • Farmer Shop ให้คุณค่าอะไร กับใครบ้าง?
  • ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ Farmer Shop คืออะไร
  • อะไรคืออุปสรรคที่สำคัญ อ่านต่อ
ประวัติความเป็นมาของสหกรณ์ผู้บริโภคในญี่ปุ่น เกิดเนื่องจากการเพิ่มอัตราภาษีและค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากการพัฒนาประเทศไปสู่อุตสาหกรรม จึงส่งผลกระทบไปถึงปากท้องของผู้คนในชนบทและภาคการเกษตร ทำให้จำนวนของสหกรณ์ผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก และเกิดการจัดตั้ง “สหภาพสหกรณ์ผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่น (Japanese Consumer Cooperative Union : JCCU” เพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์เชิงนโยบาย และทิศทางการพัฒนาของสหกรณ์ผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่น  โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้พยายามใช้หลักการรวมซื้อเข้ามากำหนดนโยบาย อ่านต่อ สถานการณ์เศรษฐกิจในทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายผู้คนในสังคม สำหรับแนวทางการดำรงชีวิตทั้งในด้านการประกอบอาชีพ  การบริโภค สันทนาการ และการอยู่ร่วมกันในสังคม  หลายคนได้ปรับเปลี่ยนทั้งความคิด และพฤติกรรมการดำรงชีวิตจากที่เคยมีแรงบันดาลใจในความสุขที่เป็นทรัพย์สินเงินทอง ชีวิตความเป็นอยู่หรูหรา ฟุ่มเฟือย  มาเป็นการดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย  เข้าถึงธรรมชาติและเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์ เช่นเดียวกับครอบครัวสมิทธ์ที่ได้ริเริ่มเปิดกิจการร้านค้าของครอบครัว สิ่งสำคัญที่ครอบครัวสมิทธ์ไม่เคยละทิ้งก็คือความเชื่อที่ว่า สมิทธ์ต้องขายสินค้าที่สดมากที่สุด รสชาติถูกปากที่สุด และปลูกในฤดูกาล ..อ่านต่อ
ทำไมตลาดจึงมีความสำคัญกับเศรษฐกิจสังคม?  ส่วนหนึ่งของหนังสือ “Cause Marketing” ว่ามนุษย์ในสังคมปัจจุบันไม่ต้องการเพียงแค่จับจ่ายใช้สอยและบริโภคเท่านั้น  แต่ยังต้องการรับรู้ว่าสินค้าที่ตนบริโภคมีจุดยืนในการดำเนินการอย่างไร  มีความยุติธรรมในการรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ผู้ผลิต ชุมชนและพนักงานหรือไม่ ในมุมมองของเขาคิดว่าการตลาดในปัจจุบันและอนาคตที่จะทำให้เกิดความสำเร็จให้กับองค์กรได้นั้นต้องอาศัยคุณธรรมความดีจึงจะนำไปสู่ความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน อ่านต่อ โลกทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นผลพวงจากสิ่งที่มนุษย์เรียกกันว่า “การสร้างสรรค์” โดยนำทรัพยากรที่มีอยู่ผ่านกระบวนการทางเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ พัฒนาออกมาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อสร้างความสะดวกสบาย ทั้งเรื่องการอุปโภคบริโภคและการมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สร้างความพึงพอใจ จนคนรุ่นเก่าที่มีชีวิตข้ามยุคข้ามสมัยต่างๆคาดไม่ถึง  สิ่งที่ทำให้ตลาดเกษตรกรแตกต่างไปจากตลาดอื่น คือการที่เกษตรกรและผู้บริโภคมีโอกาส ซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าโดยตรง อ่านต่อ
การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในบริบทโลกสำหรับห้วงเวลาศตวรรษที่ 21 นั้น คนในสังคมต้องเผชิญหน้ากับโอกาสและสิ่งท้าทายที่สำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไปสู่สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตของประชาชนให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ในชุมชนเมือง ความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยทางด้านอาหารและสุขภาพ ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมก็ส่งผลต่อรูปแบบการผลิต การค้า และการบริโภค ตลอดจนเงื่อนไข  ข้อตกลงระหว่างประเทศก็ย่อมส่งผลกระทบต่อทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย “ร้านรอยยิ้มประชารัฐ”หรือCivil State Smile Shop:C3S เป็นนวัตกรรมระบบธุรกิจที่สามารถำไปใช้เป็นกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน .. อ่านต่อ การได้มีโอกาสเห็นตัวอักษรที่โรเบิร์ต โอเวน เขียนถึงคนใกล้ชิด (ภรรยา) เล่าความคิดของเขาเกี่ยวกับเรื่องสหกรณ์ซึ่งมุ่งไปที่การคิดค้นวิธีการที่จะนำไปใช้ในการแก้ปัญหาความยากจน และการมีชีวิตที่ดีของปัจเจกบุคคล และแม้ว่าเขาจะได้ลองผิดลองถูกกับไอเดีย หรือจินตนาการที่เป็นความคิดที่ดีงาม ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จดังที่คาดหวังจนเคยถูกถากถางว่าเป็นพวกยูโทเปียหรือนักสร้างฝันแต่ท้ายที่สุดคนในสังคมก็ได้ขนานนามให้เค้าเป็น “บิดาแห่งการสหกรณ์”  แม้ว่าจะเป็นช่วงที่เขาไม่ได้มีชีวิตอยู่แล้วก็ตาม อ่านต่อ

เริ่มต้นด้วยคำถามให้ผู้อ่านลองหลับตาสัก 3 วินาทีแล้วจินตนาการว่า “สหกรณ์” คืออะไร 1 2 3.. หมดเวลา ...ยกตัวอย่าง เช่น ขนมปัง หากซื้อขนมปังมาทานครั้งละมากๆ แม้ว่าจะซื้อได้ในราคารที่ถูกลง แต่จะทานให้หมดก่อนราขึ้น ก็คงต้องทานครั้งละมากๆ แล้วเราที่มีรายได้ไม่มาก จะซื้อขนมปังมาทานครั้งละมากๆทำไม? คำตอบ ณ เวลานั้น คือการชักชวนเพื่อนๆที่ “อยากกินขนมปัง” เหมือนกันมา “ช่วยกัน”ซื้อ (ซึ่งมันก็คือ คำตอบที่เป็นธรรมชาติที่สุดแล้ว)เพียงแต่ถ้าเราแบ่งขนมปังด้วยตัวเอง เพื่อนๆอาจมองว่าไม่เสมอภาค เราเลยเลือกตัวแทนมาแทนเราสักคน โดยให้ค่าเหนื่อย ทีนี่ขนมปังก็ลงตัว เปรียบเสมือนชวนเพื่อนร่วมอุดมการณ์กินขนมปังด้วยกันโดยจ่ายเงินครึ่งหนึ่ง จะทำให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย อ่านต่อ

การมีส่วนร่วมในชุมชนมีความสาคัญเป็นอย่างยิ่งต่อองค์กรพันธมิตรและชุมชนในการส่งเสริมให้ พลเมืองในท้องถิ่นมีพลังความสามารถในการดูแลตนเองได้ ความไม่เท่าเทียมกันลดลงและช่วยลดช่องว่างระหว่างพื่นที่ที่ขาดแคลนมากที่สุดและน้อยที่สุดได้เกิดการบริการต่าง ๆ ที่ตอบสนองความจาเป็นของผู้รับบริการได้อย่างแท้จริงและทาให้เกิด การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมตามลาดับความสาคัญ บรรลุความมุ่งมั่นที่จะให้เกิดประชาธิปไตยในชุมชน อ่านต่อ