ปีืที่ 3 ฉบับที่ 9 (กันยายน 2553 ถึง พฤศจิกายน 2553 )
เรื่องราวของปกวารสารฅนสหกรณ์
แสงสว่างในป่าทึบ
ความหมายของภาพปก: ภาพป่าใหญ่ที่มืดมิดยามอาทิตย์อัสดง แต่ยังคงเห็นแสงสว่าง
สาดส่องลอดเข้ามาตามช่องไม้ใหญ่ช่วยให้เห็นเส้นทางที่จะมุ่งก้าวไป สื่อให้เห็นถึงแสง
แห่งความหวัง ที่แม้ผู้คนจะต้องประสบปัญหาที่แทบจะมองไม่เห็นทางไป แต่ก็จะยังมี
ขบวนการสหกรณ์ที่เป็นเหมือนแสงแห่งความหวัง ร่วมคิดช่วยแก้ปัญหา หาช่องทางให้
ก้าวเดินต่อไปได้อย่างภาคภูมิ
ธรรมะประจำฉบับ
การงานคือการปฏิบัติธรรม
        อันการงาน คือคุณค่า ของมนุษย์             ของมีเกียรติ สูงสุด อย่าสงสัย
        ถ้าสนุก ด้วยการงาน เบิกบานใจ              ไม่เท่าไหร่ ได้รู้ธรรม ฉ่ำซึ้งจริง
        เพราะการงาน เป็นตัวการ ประพฤติกรรม    กุศลกรรม กล้ำปนมา มีค่ายิ่ง
        ถ้าจะเปรียบ ก็เปรียบคน ฉลาดยิ่ง             นัดเดียววิ่ง เก็บนก หลายพกมา
        คือการงาน นั้นต้องทำ ด้วยสติ                 มีสมาธิ ขันติ มีอุตสาห์
        มีสัจจะ มีทมะ มีปัญญา                           มีศรัทธา และ กล้าหาญ รักงานจริง
                                                                          ธรรมะของ...ท่านพุทธทาสภิกขุ
เรื่องเด่นในเล่ม
บนเส้นทางสู่ระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม
 
        สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจสังคมของประเทศที่เผชิญหน้าอย่างท้าทายกับภาวะการแข่งขัน
ภายใต้นโยบายเปิดการค้าเสรี ซึ่งคนในสังคมมีศักยภาพในการบริโภคข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
ดังจะสังเกตได้จากกลยุทธ์การตลาดต่างๆ ที่ผู้ประกอบการได้นำมาใช้ในการดึงดูดความสนใจในกลุ่ม
เป้าหมายทางธุรกิจของตน ภายใต้กรอบคิดการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน ซึ่งมี "กำไร" เป็นแรงจูงใจ
ในการทำธุรกิจนั้น หากเป็นตลาดที่กลุ่มผู้บริโภคมีอำนาจซื้อก็คงไม่เกิดปัญหาและผลกระทบมากนัก
และยินดีที่จะจ่ายในราคาที่ตนมีความพึงพอใจ...จุฑาทิพย์ ภัทราวาท
เกษตรอินทรีย์อย่างไรจึงจะปลอดภัยและยั่งยืน
  
        โจทย์ใหญ่ในปัจจุบันที่ทำให้โลกต้องหันมาช่วยกับขบคิดคือ ทำอย่างไรจึงจะรักษาสภาพแวดล้อม
ให้คง อยู่ชั่วลูกชั่วหลาน ทำอย่างไรจึงจะลดความยากจนให้หมดไป และทำอย่างไรจึงจะให้มนุษยชาติ
อยู่ร่วมกัน อย่างสันติสุข
        ยิ่งโลกพัฒนามากขึ้นเท่าไรเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นทำให้มนุษย์เรามีอายุยืนยาวกว่าแต่
ก่อน และเริ่มหันมาให้ความสนใจกับเรื่องสุขภาพมากขึ้น แนวทางหนึ่งมุ่งไปที่การคิดค้นวิธีการรักษาโรค
อีกแนวทางหนึ่งมุ่งไปที่การป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ...สว.สก.
ย้อนอดีตถึงปัจจัยที่ขับเคลื่อนข้าวไทยให้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ
         การปลูกข้าวในสังคมไทยมีมานานแล้ว การค้นพบโบราณวัตถุที่หมู่บ้านโนนนกทาในที่ราบสูง
โคราชของประเทศไทยเป็นเครื่องสะท้อนว่าการปลูกข้าวในสังคมไทยมีมานานก่อนยุคประวัติศาสตร์
การปลูกข้าวในประเทศไทยและในประเทศอื่นๆ ในเอเชียที่มีประชากรบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักที่สำคัญ
ได้มีการพัฒนาสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล การปลูกข้าวเป็นทั้งวิถีชีวิตของคนในชนบทและเป็นส่วนของ
ประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ เช่น ประเพณีการทำขวัญข้าว ประเพณีการแห่นางแมว เพื่อการขอฝน
และพิธีการแลกนาขวัญ เป็นต้น...สมพร อิศวิลานนท์
 
ปีที่ 3 ฉบับที่ 9