ปีืที่ 2 ฉบับที่ 7 (มีนาคม 2553 ถึง พฤษภาคม 2553 )
เรื่องราวของปกวารสารฅนสหกรณ์
ยืนหยัดดั่งเสือผงาด
ความหมายของภาพปก: ต้อนรับปีเสือด้วยภาพปกเสือโคร่งที่นั่งอย่างสง่างามบนโขดหิน มีรุ้งกินน้ำ
พาดผ่านอยู่เบื้องหลัง เพื่อสื่อถึงการยืนหยัดบนเส้นทางการนำคุณค่าสหกรณ์สู่สมาชิกและขับเคลื่อน
ขบวนการสหกรณ์ให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างสง่างาม มั่นคงหนักแน่นดุจดั่งขุนเขา ตั้งมั่นในอุดมการณ์และ
จิตวิญญาณของนักสหกรณ์ พร้อมที่จะขับเคลื่อนขบวนการแม้จะพบกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย
แต่ยังคงเชื่อมั่นว่าฟ้าหลังฝนย่อมมีความสวยงามรออยู่เสมอ
ธรรมะประจำฉบับ
จะดีกว่าไหม ?
       ถ้าเปลี่ยน “การสะเดาะเคราะห์           เป็น “การคิดเชิงวิเคราะห์”
       ถ้าเปลี่ยน “การบูชาราหู”                   เป็น “บูชาคนที่ควรบูชา”
       ถ้าเปลี่ยน “การตัดกรรม”                   เป็น “การตัดพฤติกรรม”
       ถ้าเปลี่ยน “ไม่เชื่ออย่าหลบหลู่”          เป็น “ไม่เชื่อต้องศึกษา”
       ถ้าเปลี่ยน “ผลประโยชน์”                  เป็น “ประโยชน์สุข”
       ถ้าเปลี่ยน “ชื่อ-นามสกุล”                  เป็น “การเปลี่ยนวิธีคิด”
       ถ้าเปลี่ยน “คำด่า”                            เป็น “คำแนะนำ”
       ถ้าเปลี่ยน “เก่งแต่โกง”                     เป็น “เก่งและดี”
       ถ้าเปลี่ยน “อยากรู้”                           เป็น “อยากเรียนรู้”
       ถ้าเปลี่ยน “ความทุกข์”                      เป็น “ความสุข”
       ถ้าเปลี่ยน “ริษยา”                             เป็น “มุทิตา”
       ถ้าเปลี่ยน “อุปสรรค”                         เป็น “อุปกรณ์”
                                                                   ธรรมะของ...ท่าน ว.วชิรเมธี
เรื่องเด่นในเล่ม
สหกรณ์การเงินในสถานการณ์วิกฤตการเงินและการลดปัญหาความยากจน

        สหกรณ์การเงินมักเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ เครดิตยูเนี่ยน สหกรณ์ออมทรัพย์และสินเชื่อ หรือธนาคาร
เพื่อการสหกรณ์ ซึ่ง การดำเนินงานของสหกรณ์การเงินไม่ได้ขับเคลื่อนโดยกำไรเท่านั้น แต่จะเป็นไป
เพื่อคุณค่าและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันอย่าง หลากหลายมากกว่าธนาคารที่เป็นเจ้าของโดยนักลงทุน
เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้สหกรณ์การเงินยังมีวัตถุประสงค์ทางสังคมที่ให้ความ สำคัญกับการบริการและ
ตอบสนองต่อความต้องการของสมาชิกด้วย โดยทั่วไปแล้วสหกรณ์การเงินดำเนินงานในระดับการค้าปลีก
และในระดับเล็กกว่าธนาคารของนักลงทุน จึง ต้องกำหนดให้บัญชีเงินฝากของสมาชิกมี ความมั่นคงก่อน
ที่จะให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นการ ทำให้สมาชิกได้เรียนรู้ในการประหยัด อดออม และจากการที่มีโครงสร้างของ
ต้นทุนตํ่ากว่าธนาคารแบบอื่นๆ สหกรณ์ การเงินจึงสามารถจ่ายอัตราดอกเบี้ยเงิน ฝากได้สูงกว่า และคิดอัตรา
ดอกเบี้ยเงิน กู้ที่ตํ่ากว่าธนาคารอื่นได้.....สว.สก
วิพากษ์เส้นทางงานวิจัย
        วันพุธที่ 21 ตุลาคม 2552 สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ได้จัดการ ประชุม เพื่อวิพากษ์เส้นทางงานวิจัย
โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับการสหกรณ์เข้าร่วมให้คำวิพากษ์ในครั้งนี้ ซึ่ง
รศ.จุฑาทิพย์ ภัทราวาท ผู้อำนวยการสถาบันฯ ได้กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ในการประชุม คือ เพื่อเปิดโอกาส
ให้มี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยด้านสหกรณ์ เพื่อติดตามประเมิน ผลเกี่ยวกับ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสำรวจความต้องการเกี่ยวกับงานวิจัยของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เนื่องจากสถาบันฯ
ได้ทำงานในชุดโครงการวิจัย “การขับเคลื่อนการพัฒนาการสหกรณ์ และการค้าที่เป็นธรรม” ซึ่งมีจุดมุ่งหมาย
ในระยะยาวที่จะนำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงบริบทการดำเนินงานของ การสหกรณ์ไทย ไปสู่บริบทขององค์การ
ธุรกิจในมิติของการพัฒนาเศรษฐกิจฐาน สังคม (Social economy) ภายใต้ บริบท ปัจจัยสภาพแวดล้อม
ที่เป็นพลวัตโดยมีวัตถุประสงค์ในการนำชุดความรู้เรื่อง “การเชื่อมโยงคุณค่า” และการบริหารจัดการ
โซ่อุปทานมาต่อยอดและขยายผลในรูปของ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมใน 3 กลุ่มงานวิจัย
รวมทั้งหมด 11 โครงการย่อย....สว.สก
ชวนกันคิดเรื่องการกำหนดให้สหกรณ์เป็นวาระแห่งชาติ
         เช้าตรู่วันที่ 13 กรกฏาคมที่ผ่านมาพวกเรา ชาวสถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ได้นัดรวมพลกันที่ หน้าอาคารวิจัยและพัฒนา ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน เพื่อมุ้งหน้าไปยังโรงแรมโรสการ์เด้น อำเภอสวนสามพราน จังหวัดนครปฐม ในระหว่างเดินทางผู้อำนวยการได้ทิ้งท้ายก่อนลงรถว่า "วันนี้ขอให้พวกเราทำหน้าที่ในฐานะ ทีมประสานงานกลาง ที่จะดูแลการประชุมให้ทุกคนมีความสะดวกสบายและมีความสุขในการทำงานร่วมกัน และที่สำคัญทุกคนจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของนักวิจัยที่จะมาถอดบทเรียนร่วมกัน" ... กมล
ชวนกันคิดเรื่องการกำหนดให้สหกรณ์เป็นวาระแห่งชาติ
         วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เป็น
ตัวแทนจัดเวทีเสวนาเพื่อตั้งรับกับผลกระทบ จากการลงทุนอาเซียนของสหกรณ์ ซึ่งมีตัวแทนจาก
กรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้จัดการสหกรณ์ และ ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านเข้าร่วมการเสวนา โดยได้รับเกียรติ
จากปราชญ์ของแผ่นดิน ศ.ดร.ระพี สาคลิก เข้าร่วมเวทีเสวนาในครั้งนี้ด้วย
         สือเนื่องจากการที่ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ระบบการค้าเสรีอาเซียนในปีหน้านี้ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า
มีความเคลื่อนไหวจากหลายฝ่้าย ทั้งที่เห็นดีและมีข้อกังวลต่อพันธกรณีต่างๆ ที่ไทยต้องรับมือ สถาบันฯ
ในฐานะที่ดำเนินการโครงการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการขับเคลื่อนการพัฒนาการสหกรณ์และการค้าที่เป็นธรรม
จึงได้จัดเวทีเสวนานี้ขึ้น เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาครัฐ ภาควิชาการ และฝ่ายจัดการสหกรณ์เกี่ยว
กับประเด็นข้อสังเกต จากฝ่ายจัดการสหกรณ์ และมาตรการที่ต้องเตรียมตัวเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เกิด
ขึ้น......สว.สก.
 
ปีที่ 2 ฉบับที่ 7