ปีืที่ 4 ฉบับที่ 16 (มิถุนายน ถึง สิงหาคม 2555 )

เรื่องราวของปกวารสารฅนสหกรณ์

ต่างคนต่างพาย

ความหมายของภาพปก: รูปคนในเรือที่ต่างคนต่างพายไปคนละทิศบนปกวารสารฉบับนี้ สะท้อนให้เห็น

ถึงแนวคิดว่าหากการทำงานของชาวสหกรณ์ ที่อยู่ในเรือลำเดียวกัน แต่ต่างคนต่างทำงานของตน

โดยไม่หันหน้าเข้าหากัน ไม่ทำความเข้าใจร่วมกันในการผลักดันงานของสหกรณ์ให้ก้าวไปในทิศทาง

เดียวกัน จะทำให้ไม่สามารถไปถึงจุดหมายได้

ธรรมะประจำฉบับ

ความงามของความต่าง การเงินคือการปฎิบัติธรรม

อันการงาน คือคุณค่า ของมนุษย์ ของมีเกียรติ สูงสุด อย่าสงสัย

ถ้าสนุก ด้วยการงาน เบิกบานใจ ไม่เท่าไร ได้รู้ธรรม ฉ่ำซึ้งจริง

เพราะการงาน เป็นตัวการ ประพฤติธรรม กุศลกรรม กล้ำปนมา มีค่ายิ่ง

ถ้าจะเปรียบ ก็เปรียบคน ฉลาดยิ่ง นัดเดียววิ่ง เก็บนก หลายพกมา

 

คือการงาน นั้นต้องทำ ด้วยสติ มีสมาธิ ขันติ มีอุตสาห์

มีสัจจะ มีทมะ มีปัญญา มีศรัทรา และกล้าหาญ รักงานจริง

ท่านพุทธทาสภิกขุ

เรื่องเด่นในเล่ม

สิ่งท้าทายของสหกรณ์ในการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน

ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคขบวนการสหกรณ์ และภาควิชาการ มีการจัดเวทีเสวนาใน

ประเด็นของประชาคมอาเซียนกันมาก เวทีสัมมนาในครั้งนี้ก็เป็นอีกวาระหนึ่งที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาในแวดวง

นักสหกรณ์และผู้เกี่ยวข้องจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่อง "สิ่งท้าทายของสหกรณ์ในการก้าวสู่การเป็น

ประชาคมอาเซียน" บทความฉบับนี้จึงจะกล่าวถึงสาระสำคัญที่เชื่อมโยงไปสู่กรอบแนวทางเชิงกลยุทธ์ของ

สหกรณ์ในการก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งเป็นสิ่งท้าทายที่สหกรณ์ต้องพิสูจน์ในบริบทการเป็น

องค์การธุรกิจฐานสังคม (Social Economy Enterprise) และเอกลักษณ์ของสหกรณ์ในมิติของการเชื่อมโยง

เสาหลักด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นวิถีการทำงานตามหลักและวิธีการสหกรณ์ที่สืบทอด

เจตนารมณ์มาจากผู้ริเริ่มการสหกรณ์ ...จุฑาทิพย์ ภัทราวาท

การแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการกู้ยืมเงินของชาวนา เมื่อศตวรรษที่ผ่านมา

การผลิตเชิงการค้าและการขยายการผลิตในระดับไร่นาของครัวเรือนภายหลังการทำสนธิสัญญา

เบาว์ริง (ฺBowring Treaty) กับอังกฤษได้กระตุ้นให้ครัวเรือนชาวนาเกิดความต้องการเงินทุนเพิ่มเติม ทั้งเพื่อ

การปรับปรุงที่ดิน การจัดหาปัจจัยการผลิต ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตร เพราะเป้นโอกาสที่

ชาวนาจะเพิ่มพูนรายได้ให้กับครัวเรือนจากการขยายการผลิตเพื่อการค้าอันเป็นผลจากความต้องการข้าว

ที่มีมากขึ้นจากการขยายตัวของตลาดส่งออกในขณะนั้นในอดีตเมื่อฤดูเพราะปลูก ชาวบ้านที่ต้องการเงินทุน

จึงต้องพึ่งพาเงินกู้จาก นายทุนผู้มีฐานะในหมู่บ้านหรือพ่อค้าผลิตผล ซึ่งเป็นเงินกู้จากแหล่งเอกชนหรือ

เรียกกันทั่วไปว่า "เงินกู้นอกระบบ" ทั้งนี้ เพราะบุคคลเหล่านี้มีเงินสดอยู่ในมือ ขณะที่ชาวนาไม่มีเงินสดใน

มือ อีกทั้ง ในยามเดือดร้อน หรือเจ็บป่วย ก็ต้องอาศัยพึ่งพาผู้ให้กู้นอกระบบและญาติพี่น้อง เพราะเป็นกลุ่ม

บุคคลในชนบลเพียงกลุ่มเดียวมีความใกล้ชิดพอพึ่งพากันได้ เพราะมีความจำเป็นเร่งด่วน...สมพร อิศวิลานนท์

"แนวคิดการบริหารเงิน...สหกรณ์"

ที่ผ่านมามีคนพูดกันมากเกี่ยวกับเรื่องของแหล่งทุนที่จะสนับสนุนเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย

ว่าจะมีหนทางอย่างไรจึงจะสามารถช่วยให้พวกเขาเหล่านั้นมีปัจจุยในการนำไปใช้ดำรงชีวิตและการ

ประกอบอาชีพให้มีชีวิตที่ดี ซึ่งถ้าเราทบทวนถึงนโยบายรัฐและการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนแล้ว

เราจะเห็นผลงานที่แตกต่างกันแต่มีเป้าหมายเหมือนกัน ...จุฑาทิพย์ ภัทราวาท

View:3033