ปีืที่ 3 ฉบับที่ 11 (มีนาคม 2554 ถึง พฤษภาคม 2554 )

เรื่องราวของปกวารสารฅนสหกรณ์

เส้นทางขับเคลื่อนเครือข่ายคุณค่า

ความหมายของภาพปก: ภาพขบวนรถไฟที่ชื่อ CAI (Co-operative Academic Institute: สถาบัน

วิชาการด้านสหกรณ์) ขับเคลื่อนไปข้างหน้าพร้อมนำขบวนเครือข่ายต่างๆ ให้เคลื่อนตามไป ด้วย

ระบบคุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม (VN&F Platform) สะท้อนให้เห็นถึงภาพการเดินทางของสถาบันฯ

ตลอดเกือบ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการขับเคลื่อนโครงการวิจัยเครือข่ายต่างๆ มากมาย เพื่อสร้าง

คุณค่าให้เกิดแก่ขบวนการสหกรณ์ และยังคงพร้อมที่ก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง

ธรรมะประจำฉบับ

อันการงาน คือค่า ของมนุษย์ ของมีเกียรติ สูงสุด อย่างสงสัย

ถ้าสนุก ด้วยการงาน เบิกบานใจ ไม่เท่าไหร่ รู้ธรรม ฉ่ำซึ้งจริง

ตัวการงาน คือตัวการ ประพฤติธรรม พร้อมกันไป หลายล้ำ มีค่ายิ่ง

ถ้าจะเปรียบ ก็เหมือนคน ฉลาดยิ่ง นัดเดียววิ่ง เก็บนก หลายพกเอยฯ ธรรมะของ...ท่านพุทธทาสภิกขุ

เรื่องเด่นในเล่ม

เป็นเวลาหลายปีแล้วที่เราได้เห็นรูปแบบของรูปแบบที่เปลี่ยนไปของสหกรณ์เกิดขึ้น ในสหกรณ์

การเกษตรหลายแห่ง เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในสิทธิการออกเสียง ลงคะแนนโดย

ให้อำนาจแก่สมาชิกมากขึ้น เรายังได้เห็นการเปลี่ยนแปลงกฎให้มีการยอมรับสมาชิก สหกรณ์บางส่วน

ได้เปลี่ยนไปเป็นบริษัทหุ้นส่วน เช่นเดียวกันกับสหกรณ์แรงงาน เราได้เห็นรูปแบบของมอนเดรกอน

ที่พนักงานมีความเป็นเจ้าของในสหกรณ์สูงมาก นอกจากนี้ยังมีรูปแบบอื่นๆ เช่น รูปแบบของ John Lewis

และการเติบโตของโครงสร้างการถือหุ้นที่สหกรณ์มีการเติบโตและขยายกิจการด้วยการพัฒนาสายธุรกิจ

ที่เป็นธุรกิจย่อยของสหกรณ์นั้นๆ โดยใช้โครงสร้างของบริษัทแบบดั้งเดิม...สว.สก.

โรงสีข้าวฤาธุรกิจกำลังเข้าสู่วิกฤตของปัญหา

ธุรกิจโรงสีเป็นส่วนสำคัญในโครงสร้างตลาดข้าวของไทย ใน ตลาดข้าวเปลือกโรงสีจะทำหน้าที่

ในการรับซื้อข้าวเปลือก การเก็บรักษา และการสีแปรสภาพ ส่วนในตลาดข้าวสาร โรงสีจะทำหน้าที่

ในการขายข้าวสารให้กับผู้ค้าขายส่ง เพื่อไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภค หรือมิฉะนั้นก็จำหน่ายให้กับผู้ส่งออก

โรงสีจึง เป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างภาคการผลิต ภาคการบริโภคภายในประเทศ และภาคการส่งออก

โรงสีเป็นทั้งช่องทางของการไหล ผ่านของผลผลิตข้าวเปลือก และในขณะเดียวกันก็เป็นช่องทางของการ

ไหลผ่านของข้อมูลราคาจากตลาดส่งออกไปสู่ตลาดท้องถิ่น โรงสีจึงมีบทบาทสำคัญต่อระดับราคาข้าว

ในประเทศ โดยเฉพาะราคาข้าวที่เกษตรกรได้รับ ...สมพร อิสวิลานนท์

บริบทของตลาดกับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม

ทำไมตลาดจึงมีความสำคัญกับเศรษฐกิจสังคม ? ก่อนอื่นต้องชวนท่านผู้มีเกียรติ หันมาพิจารณา

ความหมายของคำว่า “ตลาด” เสียก่อน ตลาด หมายถึง กลุ่มผู้ซื้อและผู้ขายที่ทำการติดต่อแลกเปลี่ยน

สินค้า ชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น ตลาดธัญพืช เป็นต้น อย่างไรก็ดีนักการตลาดถือว่า ผู้ขายก่อให้เกิด

อุตสาหกรรม และผู้ซื้อก่อให้เกิดตลาดความสัมพันธ์ระหว่างอุตสาหกรรมและตลาด (ฟิลิป คอต-เลอร์,

Marketing Management, 1998) ตลาด หมายถึง กลุ่มบุคคล หรือองค์การที่มีความจำเป็นและ ต้องการ

(Need and Want) ในผลิตภัณฑ์ มีความเต็มใจ มีความสามารถในการแลกเปลี่ยน และมีอำนาจในการ

ตัดสินใจซื้อ เพื่อความพึงพอใจของตน (Charles W.Lamp,Joseph, F. Hair and Carl McDaniel,

Principles of Marketing, 1992) ...จุฑาทิพย์ ภัทราวาท

View:3084