IBM Inclusive Business

การดำเนินการโครงการวิจัย "การพัฒนาธุรกิจแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างสมดุลทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาธุรกิจข้าวสหกรณ์และวิสหกิจชุมชน"

ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าโครงการพัฒนาธุรกิจข้าว IBM ในที่นี้มีวัตถุประสงค์ส าคัญ 3 ประการ ได้แก่
1) การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ในการสร้างสมรรถนะด้านการประกอบการในแนวทางของ Inclusive Business แก่เกษตรกรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
2) การศึกษาแนวทางการพัฒนาธุรกิจข้าว IBM ในสถาบันเกษตรกรที่เป็นกรณีศึกษา
3) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการส่งเสริมธุรกิจข้าว IBM ในการเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาให้เกิดความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

กลุ่มเป้าหมายเพื่อการวิจัยในครั้งนี้มีสองแห่ง กรณีศึกษาแรก: สหกรณ์การเกษตรบ้านลาดจำกัด จ.เพชรบุรี เกษตรกรสมาชิกกว่า 3,000 ราย ยังคงทำนาเคมีและเผชิญหน้ากับปัญหาภัยแล้งโรคแมลงศัตรูพืชและราคาข้าวที่ผันผวน ประเด็นท้าทายในการวิจัย คือการยกระดับการพัฒนาระบบธุรกิจข้าวสหกรณ์ที่สามารถแก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จทั้งด้านการแก้ปัญหาการผลิตแก่เกษตรกรและพัฒนาการตลาดที่สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษาที่สอง: วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน จ.สุพรรณบุรี มีประธานกรรมการเป็นผู้ที่มีทักษะและแนวปฏิบัติที่ดีในการทำนาอินทรีย์ได้รับการรับรองมาตรฐาน IFOAM จำหน่ายข้าวสารตามสัญญาข้อตกลงกับบริษัทเอกชน โจทย์ท้าทาย คือ ทำอย่างไร
วิสาหกิจชุมชนจึงจะสามารถสร้างแรงจูงใจแก่เกษตรกรสมาชิกที่ยังคงทำนาเคมีใ ห้ปรับเปลี่ยนมาทำนาอินทรีย์

และใช้กลไกวิสาหกิจชุมชนในพัฒนาระบบธุรกิจข้าวการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์กรอบแนวคิดธุรกิจข้าว IBM เป็นไปตามนิยามที่กำหนดคือ "เป็นรูปแบบธุรกิจที่ส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยเข้ามามีส่วนร่วมในระบบธุรกิจของสถาบันเกษตรกร ที่มีการพัฒนาโซ่คุณค่า (Value Chain Development) โดยการทำธุรกิจร่วมกับภาคีพันธมิตรในการยกระดับหน้าที่ (Functional Upgrading) ยกระดับกระบวนการ (Process Upgrading) ยกระดับผลิตภัณฑ์ (Product Upgrading) เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมาย อ่านต่อ

ธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (Inclusive Business Model: IBM)

- ธุรกิจเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (Inclusive Business Model: IBM) ถูกกล่าวถึงครั้งแรกในปี 2548 โดยWorld Business Council for Sustainable Development: WBCSD) ซึ่งได้นาเสนอแนวทางที่จะยกระดับบทบาทภาคเอกชนจากที่เคยทากิจกรรมสาธารณะประโยชน์ไปเป็นการยกระดับรายได้ชุมชนด้วยการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโซ่คุณค่า - เอกสารเชิงวิชาการเกี่ยวกับ IBM ปรากฏชัดในรายงานของUNDP ธนาคารโลกADB FAOsรายงานวิจัยของมหาวิทยาลับ Wageningen APEC และ ในปี2558World Economic Forum (WEF -Grow Asia) ได้นาIBMมาทดลองใช้ในภูมิภาคอาเซียน - นโยบายของAPEC มีการให้ทุนวิจัยแนวทางส่งเสริมIBMในบริบทอาเซียน - กระทรวง METI ของญี่ปุ่น ทดลองจัดตั้ง Inclusive Business Support Centerเพื่อเป็นกลไกบ่มเพาะและขยายผล IBM - สิงคโปร์ มี IB Promotion Platform บนหลักการทางานร่วมกันของภาคี (Partnership Platform) และเชื่อมโยงธุรกิจถึงตลาดโลก - ADB ร่วมกับ WEF ร่วมมือกันกาหนดตัวชี้วัดระดับการพัฒนาประเทศ เพื่อกระตุ้นให้ภาครัฐและเอกชนนาโมเดลธุรกิจไปใช้ให้มากขึ้น - นิยาม IBM 1) "เป็นธุรกิจที่เปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าไปมีส่วนในกระบวนการธุรกิจและเชื่อมโยงสู่ตลาดโลก(Global Value chain) ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจเอง เพิ่มรายได้และเปิดโอกาสการเข้าถึงบริการให้กับผู้มีรายได้น้อย แล้วยังช่วยลดความยากจนและการบรรลุเป้าหมาย SDGs ไปพร้อมกัน" (Agenda G20 Global Platform for Inclusive Business) 2) "เป็นรูปแบบของธุรกิจที่ช่วยสร้างโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยในระดับฐานของพีรามิด โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยให้เข้ามาอยู่ในห่วงโซ่ อาจเป็นในฐานะผู้ผลิต กระจายสินค้า จาหน่าย หรือบริโภคสินค้าก็ได้ อันจะนาไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม" อ่านต่อ

การพัฒนาธุรกิจข้าว IBM  วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน จ.สุพรรณบุรี

ในปี 2553 บริษัทซองเดอร์ไทยออร์กานิคฟูด จำกัด ได้เข้าไปสนับสนุนการปลูกข้าวอินทรีย์ในพื้นที่ ซึ่งมีคุณปัญญา ใคร่ครวญ ที่เป็นเกษตรกรรายแรกๆ ในพื้นที่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน IFOAM โดยบริษัทซองเดอร์ฯได้ทำ Contract farming กับคุณปัญญาเพื่อรับซื้อข้าวปีละ 700,000 บาท หลังจากนั้นจึงได้เชิญชวนและสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเพื่อขยายพื้นที่อินทรีย์ โดยเชิญชวนเกษตรกรที่ประสบปัญหามาจากโครงการรับจำนำข้าวมาเรียนรู้ร่วมกัน ในปี 2556 มีโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ส่งเสริมการปลูกข้าวแก่เกษตรกรในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภออู่ทอง และห้วยกระเจา มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 500 ไร อย่างไรก็ตาม ภายหลังเมื่อเผชิญปัญหาเรื่องข้าวปน มีวัชพืช ต้นทุนการผลิตสูงและถูกคิดค่าบริการต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรดังกล่าวหยุดผลิตข้าวไรซ์เบอรี่ในที่สุด ต่อมาในปี 2557 แกนนำเกษตรกรได้มาปรึกษาหารือกันและได้เปลี่ยนชื่อจากวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์จรเข้สามพันเพื่อนพึ่งภาฯมาจดทะเบียนกับเกษตรกรอำเภออู่ทองชื่อ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน
ปัจจุบัน (ปี 2560) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน มีเกษตรกรสมาชิกจำนวน 30 รายและภาคีที่เกี่ยวข้องจำนวน 42 ราย กรรมการวิสาหกิจชุมชนจำนวน 8 คน มีเนื้อที่ปลูกข้าวรวม 250 ไร่ ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มประกอบด้วย ข้าวอินทรีย์ ผักสลัด ผักพื้นบ้าน ไข่ไก่อารมณ์ดี ขนมแปรรูปจากข้าวและผลไม้อินทรีย์ มีภาคีที่เป็นแหล่งจำหน่ายผลผลิตและแหล่งสินเชื่อ ได้แก่ บ.ซองเดอร์ออร์กานิคฟูด จำกัด เลมอนฟาร์ม ตลาดนัดชุมชน และธ.ก.ส.

ปัจจุบันสมาชิกที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน PGS และมีผลผลิตต่อเนื่องจำนวน 21 ราย  ส่งผลผลิตข้าวให้บริษัทซองเดอร์ออร์กานิคฟูด จำกัด บริษัทสังคมสุขภาพ และตลาดท้องถิ่น ทำแผนการผลิตปี 2561 กับเลมอนฟาร์มมีข้าว 2 ชนิดที่ปลูกและแปรรูป คือ ข้าวไรซ์เบอรี่ และข้าวทับทิมชุมแพ ชนิดละ 20 ตัน ส่วนบริษัทซองเดอร์ออร์กานิคฟูด มีข้าวหอมปทุมและกลุ่มข้าวเหนียว (ข้าวเหนียวขาวและข้าวเหนียวดำ) อยู่ระหว่างการต่อรองราคา การผลิตผักผลไม้ บริษัทสังคมสุขภาพต้องการผลผลิตอย่างต่อเนื่องมีผักใบ 500 กิโลกรัม/สัปดาห์หรือมากกว่า ผลไม้ต้องการประมาณ 1 ตัน/สัปดาห์ มีมะม่วง แก้วมังกร ฝรั่งกิมจู สับปะรด กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม และกล้วยไข่


สภาพแวดล้อมวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน

การเข้าร่วมโครงการพัฒนาธุรกิจข้าว IBM
ภายหลังจากการประชุมหารือกับประธานและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืนเกี่ยวกับกรอบแนวคิดคุณลักษณะของธุรกิจข้าว IBM และเห็นชอบในการดำเนินการโครงการพัฒนาธุรกิจข้าว IBM กับทีมงานวิจัยภายใต้การสนับสนุนของสกว.เป็นเวลา 2 ปี เริ่มจาก 18 เมษายน 2560


การจัดเวทีสนทนากลุ่มเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้อง


ผลการประชุมสนทนากลุ่มเป้าหมายแก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชนฯทุ่งทองยั่งยืนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการข้าว IBM ได้มีสมาชิกเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการนำร่องจำนวน 31 ราย เนื้อที่ทำนารวมทั้งสิ้น 267ไร่ 3 งาน


พื้นที่ทำนาของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ

ผลการประเมินสมรรถนะเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในปีแรกจำนวน 31 คน ได้ถูกนำมาพัฒนาส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อสร้างสมรรถนะ 3 มิติ ซึ่งได้ดำเนินการไปทั้งสิ้น 7 ครั้ง ผลการประเมินเปรียบเทียบระดับสมรรถนะเกษตรกรก่อน-หลังเข้าร่วมโครงการ ชี้ให้เห็นว่า ระดับสมรรถนะที่เพิ่มขึ้นจากเดิม ได้แก่ กระบวนทัศน์ Thailand 4.0, กระบวนทัศน์การวางแผนการผลิต, กระบวนการผลิตในแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs), ความรู้/ทักษะด้านการประกอบการ, ความรู้/ทักษะด้านการพัฒนาโซ่คุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม และความรู้/ทักษะเรื่องการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องสำหรับธุรกิจข้าว IBM วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน ชี้ให้เห็นประเด็นที่เป็นโอกาสท้าทายในการยกระดับกลไกการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนภายใต้การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการพัฒนาระบบธุรกิจข้าว IBM โดยได้จัดทำแผนกลยุทธ์ภายใต้วิสัยทัศน์ “การขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ทุ่งทองยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในอาชีพ และชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกและชุมชน” มีกลยุทธ์หลัก 3 ประการ ได้แก่ 1) การสร้างกลไกการยกระดับสมรรถนะสู่การเป็นชาวนาผู้ผลิตข้าวอินทรีย์สู่ตลาดเป้าหมายอย่างยั่งยืน (IBM Smart Farmers) 2) แผนพัฒนาระบบธุรกิจข้าวอินทรีย์อย่างมีส่วนร่วม (ข้าว IBM) โดยกลุ่มทุ่งทองยั่งยืนกับภาคีพันธมิตรธุรกิจสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และ 3) แผนการดำเนินงานในการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์แปรรูปของกลุ่มแม่บ้านทุ่งทองยั่งยืน
การขับเคลื่อนโครงการข้าวIBMของวิสาหกิจชุมชนทุ่งทองยั่งยืนดำเนินการควบคู่กันไประหว่างการดำเนินการโครงการนำร่องเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์โดยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวกล้อง และข้าวไรซ์เบอรี่ ภายใต้แบรนด์ “ข้าว IBM ทุ่งทองยั่งยืน” ทดสอบตลาดที่ KU Food และโครงการตลาดนัด CSA ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งผลการประเมินความคิดเห็นกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคอยู่ในระดับ “ดี-ดีมาก"
ในส่วนของการยกระดับหน้าที่และกระบวนการองวิสาหกิจชุมชนทุ่งทองยั่งยืนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์สู่วิสัยทัศน์นั้นได้มีการปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหารจัดการวิสาหกิจฯ โดยมีทีมกลยุทธ์โครงการ IBM เพื่อเป็นแกนประสานการขับเคลื่อนการพัฒนาธุรกิจข้าว IBM กับผลิตภัณฑ์แปรรูป IBM มีศูนย์เรียนรู้ IBM ที่สำนักงานวิสาหกิจฯทุ่งทองยั่งยืน
ในส่วนของกลยุทธ์หลักที่สำคัญอีกประการหนึ่งเพื่อสร้างแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน ควบคู่การเรียนรู้ฝึกทักษะด้านการประกอบการนั้น ทีมวิจัยจะได้สนับสนุนกลุ่มสตรีการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์กล้วยกรอบทุ่งทอง การเรียนรู้และฝึกทักษะด้านการตลาด การจำหน่ายผ่านแอพลิเคชั่น โดยปัจจุบันมีการพัฒนาโครงสร้างการบริหารจัดการกลุ่มแม่บ้าน การวางแผนต้นทุน-ผลตอบแทน การจัดทำบัญชี การศึกษาดูงานเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ได้การรับรองอ.ย. และการกำหนดบุคคลที่ปรึกษาการตลาด

การพัฒนาธุรกิจข้าว IBM สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด จ.เพชรบุรี

สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2483 มีสมาชิกผู้ก่อตั้งจำนวน 1,401 คน ทุนดำเนินงาน 900,000 บาท ปัจจุบันสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด (ข้อมูลปี 2560) ดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ “มุ่งมั่นสานต่องานที่พ่อทำ น้อมนำปณิธานสหกรณ์” มีสมาชิก 9,149 คน ทุนดำเนินงาน 1,316 ล้านบาท รายได้ธุรกิจ 220 ล้านบาท กำไรสุทธิประจำปี 29.4 ล้านบาท มีการดำเนินธุรกิจอเนกประสงค์ที่สำคัญ ได้แก่ ธุรกิจสินเชื่อ รับเงินฝาก ธุรกิจซื้อ ธุรกิจจัดหาและจำหน่ายปัจจัยการผลิต (เมล็ดพันธุ์ข้าว ปุ๋ยเคมี เครื่องอบ อุปกรณ์วัสดุก่อสร้าง) สินค้าอุปโภคบริโภค ร้าน Farmer Shop ศูนย์กระจายสินค้า ธุรกิจรวบรวม (รวบรวมข้าวเปลือก และเมล็ดพันธุ์ข้าว) ธุรกิจแปรรูป (โรงสี) ธุรกิจบริการ ให้บริการรถเกี่ยวนวดข้าว ธุรกิจตลาดกลางข้าวเปลือก ตลาดกลางผักผลไม้ ธุรกิจปั๊มน้ำมัน และโครงการกล้วยหอม GAP เพื่อการส่งออกและจำหน่ายในประเทศ


การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด

การเข้าร่วมโครงการพัฒนาธุรกิจข้าว IBM
ภายหลังจากการประชุมหารือกับผู้จัดการสหกรณ์และคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ เกี่ยวกับกรอบแนวคิดของธุรกิจข้าว IBM จึงได้มีมติคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์เห็นชอบในการดำเนินการโครงการพัฒนาธุรกิจข้าว IBM กับทีมงานวิจัยภายใต้การสนับสนุนของสกว.เป็นเวลา 2 ปี เริ่มจาก 18 เมษายน 2560


การจัดเวทีสนทนากลุ่มเป้าหมายร่วมกับคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ฯ และผู้เกี่ยวข้อง

ผลการประชุมสนทนากลุ่มเป้าหมายแก่สมาชิกสหกรณ์เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการข้าว IBM ได้มีสมาชิกเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการนำร่องจำนวน จำนวน 40 ราย เนื้อที่ทำนารวมทั้งสิ้น 963 ไร่ 2 งาน จาก 6 ตำบล (ตารางที่ 3.1) ประกอบด้วย 1) ต.สะพานไกร 2) ต.ห้วยข้อง 3) ต.ไร่สะท้อน 4) ต.บ้านหาด 5) ต.ท่าเสน 6) ต.โรงเข้

พื้นที่ทำนาของสมาชิกสหกรณ์ที่เข้าร่วมโครงการ

ผลการประเมินสมรรถนะเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนำร่องในปีแรกจำนวน 40 คน ได้ถูกนำมาวางแผนสำหรับระบบส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะใน 3 มิติ ซึ่งได้ดำเนินการส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งสิ้น 14 ครั้ง และการวางระบบการส่งเสริมการผลิตข้าว GAP ผ่านการรับรองแบบกลุ่ม ภายใต้ภาคีความร่วมมือกับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี โดยมีเป้าหมายการรับรองมาตรฐานในปีการผลิตข้าวนาปี 2561 การประเมินผลเชิงเปรียบเทียบระดับสมรรถนะเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่องจำนวน 24 คน พบว่า ระดับสมรรถนะที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ จิตสำนึกการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, กระบวนทัศน์ Thailand 4.0, กระบวนทัศน์การวางแผนการผลิต, กระบวนทัศน์การผลิตในแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs), ความรู้/ทักษะด้านการประกอบการ, ความรู้/ทักษะด้านการพัฒนาโซ่คุณค่าและการค้าที่เป็นธรรม และความรู้/ทักษะเรื่องการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องสำหรับธุรกิจข้าว IBM สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด ชี้ให้เห็นโอกาสที่ท้าทายสำหรับสหกรณ์ซึ่งเป็นสหกรณ์ที่มีความพร้อมในด้านเงินทุน ผู้นำและฝ่ายจัดการที่มีประสบการณ์เชิงธุรกิจแบบอเนกประสงค์ ให้บริการแก่สมาชิกอย่างครบวงจร อีกทั้งมีความสนใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมตัวแบบธุรกิจข้าวสหกรณ์ตามกรอบแนวคิดธุรกิจข้าว IBM อย่างไรก็ตาม ประเด็นท้าทายคือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถยกระดับการผลิตข้าวของสมาชิกจากผลิตข้าวใช้สารเคมีปรับเปลี่ยนเป็นผลิตข้าว GAP สู่อินทรีย์ในอนาคต ซึ่งได้นำไปสู่การจัดทำ Logical Framework สำหรับการพัฒนาธุรกิจข้าว IBM สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด (รูปที่ 2.9) การนำไปใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ “มุ่งยกระดับสมรรถนะชาวนาในการผลิตข้าว GAP สู่อินทรีย์เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” และ Road map การขับเคลื่อนระบบธุรกิจข้าว IBM และแผนธุรกิจ
โดยคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ชุดที่ 40 สหกรณ์การเกษตรบ้านลาด จำกัด มีมติเห็นชอบนโยบายในการขับเคลื่อนแผนธุรกิจข้าว IBM อยู่ภายใต้การกำกับคณะอนุกรรมการข้าวIBM และทีมงานข้าว IBM ที่มีผู้จัดการสหกรณ์เป็นหัวหน้าคณะทำงาน วางแผนรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่ผ่านการรับรอง GAP ในฤดูนาปี ปีการผลิต 2561 จำนวน 23 ราย ประมาณการผลผลิต(ข้าวพันธุ์ชัยนาทและสุพรรณบุรี) ที่จะรวบรวมทั้งสิ้น 100 ตัน มูลค่าธุรกิจรวม 1,375,000 บาท มีกำไรขั้นต้น 209,630บาท ภายใต้แบรนก็ "ข้าว IBM บ้านลาด" มี 2 ขนาดคือ ขนาดบรรจุ 5 กก.และ 1 กก. โดยได้กำหนดตลาดเป้าหมาย (Target Market) ที่สำคัญคือ ครัวเรือนสมาชิก (ปัจจุบันมี9.000ครัวเรือน) และสถาบันการศึกษา โรงพยาบาล ร้านอาหารภัตตาคารใน จ.เพชรบุรี และผลิตภัณฑ์ข้าว IBM ขนาดบรรจุ 1 กก. เพื่อกระตุ้น Awareness ผู้บริโภคทั่วไปให้ตระหนักถึงการส่งเสริมธุรกิจข้าว IBM เพื่อสนับสนุนเกษตรกรรายย่อย


ผลิตภัณฑ์ IBM

Inclusive Business Model

“ธุรกิจแบบมีส่วนร่วม: Inclusive Business” มีกลไกที่ช่วยสร้างสมรรถนะด้านการประกอบการ ในแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่เกษตรกร ช่วยพัฒนาให้สถาบันเกษตรกรมีระบบการบริหารจัดการที่ดีและ มีการใช้นวัตกรรม ในการยกระดับหน้าที่ ยกระดับผลิตภัณฑ์และยกระดับกระบวนการส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้จากการจาหน่ายผลผลิตมากขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม อ่านต่อ

 

Inclusive Business Model

Inclusive Business Model เป็นตัวแบบธุรกิจที่สนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยเข้าไปมีส่วนร่วมกับภาคีในระบบธุรกิจภายใต้โซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์เกษตรเพื่อการบรรลุเป้าหมายร่วมในการลดข้อจากัดของเกษตรกร สร้างความมั่นคงทางอาหารและเพิ่มขีดความสามารถในการทาธุรกิจเกษตรไทย อ่านต่อ

 

นวัตกรรม "ธุรกิจข้าวแบบมีส่วนร่วม" แก้ปัญหาชาวนาอย่างเป็นองค์รวม

รัฐบาลทุกยุคใช้ความพยายามแก้ปัญหาทุกข์ของชาวนาหลายรูปแบบและใช้งบสนับสนุนจำนวนมากแต่ก็ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ? เหตุผลสำคัญประการหนึ่งคือที่ผ่านมาเราใช้วิธีแก้ปัญหาแบบแยกส่วนไม่ได้มององค์รวม ซึ่งต้องมองข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้เห็นปัญหาและมีแนวทางการแก้ปัญหาอย่างเป็นองค์รวม อ่านต่อ

 

สกว. ดันนวัตกรรมธุรกิจข้าว IBM มุ่งเกษตรอินทรีย์สู่วิถีชาวนา 4.0

ท่ามกลางบรรยากาศของประชาคมโลก นโยบายประเทศ และผู้คนในสังคมที่ต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบเป้าหมายตัวชี้วัด SDGs ย่อมเป็นโอกาสดีในการริเริ่มนวัตกรรมตัวแบบธุรกิจตามแนวทาง Inclusive Business Model (IBM) ที่มุ่งเน้นการสร้างทางเลือกแก่เกษตรกรรายย่อยให้เข้าไปมีส่วนร่วมในโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์ และได้รับประโยชน์ในการทำธุรกิจอย่างเป็นธรรม อ่านต่อ

 

สกว. เสริมทัพประชุมวิชาการข้าว เสนอโมเดลธุรกิจ “ข้าว IBM” หนุนงานวิจัยข้าวไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ร่วมกับ มูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กรมการข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดงานแถลงข่าวเชิญชวนนักวิชาการ นักเขียน นักเรียนนักศึกษา ผู้ประกอบการด้านข้าว และเกษตรกร ร่วมงานการประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ภายใต้แนวคิด “งานวิจัยข้าวไทย สู่ไทยแลนด์ 4.0” ในวันที่ 23-24 พฤษภาคม ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการและคอนเสนชัน เซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ อ่านต่อ

 

แนวทางการพัฒนาธุรกิจข้าวแบบมีส่วนร่วม เพื่อแก้ปัญหาชาวนารายย่อยอย่างเป็นองค์รวม

การดำเนินการโครงการวิจัย "การพัฒนาธุรกิจแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างสมดุลทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม : กรณีศึกษาธุรกิจข้าวสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชน" ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่าโครงการพัฒนาธุรกิจข้าวแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประส่งค์สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อการศึกษาแนวทางการสร้างสมรรถนะแก่เกษตรกร 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาธุรกิจข้าวแบบมีส่วนร่วมในสถาบันเกษตรกรที่เป็นกรณีศึกษา อ่านต่อ

 

ธุรกิจข้าวแบบมีส่วนร่วม : นวัตกรรมในการแก้ปัญหาชาวนาอย่างเป็นองค์รวม

แม้ว่ารัฐบาลทุกยุคทุกสมัยจะใช้ความพยายามในการแก้ปัญหาทุกข์ของชาวนาในหลายรูปแบบและใช้งบประมาณสนับสนุนเป็นจำนวนมากแต่ก็ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? เหตุผลสำคัญประการหนึ่งคือที่ผ่านมาเราใช้วิธีแก้ปัญหาแบบแยกส่วนไม่ได้มองอย่างเป็นองค์รวม ข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้เห็นปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาอย่างเป็นองค์รวมมีดังนี้ อ่านต่อ